ถ้าพูดถึงชาหลายหลายคนมักจะมีภาพขึ้นมาในหัวว่าจะต้องเป็นคนจีนนั่งจิบชาล้อมวงปรึกษาหารือหรือคุยเรื่องการบ้านการเมือง ในที่โล่งแจ้งรับกับแสงแดดยามเช้าและเหมือนจะเป็นเครื่องดื่มประจำบ้านแทนน้ำเปล่าได้ จนกลายเป็นวัฒนธรรมการดื่มชา ที่เราเห็นคุ้นตาในปัจจุบัน วัฒนธรรมการดื่มชามีหลากหลายประเทศเช่น จีน อังกฤษ อินเดีย ญี่ปุ่น หรือแม้แต่ไทยเอง แต่ละประเทศมีเทคนิคแตกต่างกัน
การจับคู่ขนมกับชา สไตล์ต่างๆก็ เป็นเทคนิคที่ทำให้ นอกจากการดื่มชาไม่น่าเบื่อ ทำให้บทสนทนาครึกครื้นมีแต่ความเบิกบาน ผ่อนคลายแล้ว ยังมีประโยชน์ในการเพิ่มน้ำตาลในเลือดเพราะว่าหากดื่มชามากๆหลายชนิดจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและทำให้มีอาการมึนๆ ถึงควรเพิ่มระดับน้ำตาลด้วยขนม ทั้งนี้แต่ละประเทศก็มีขนมที่แตกต่างกันไป
เทคนิคในการชงชา
ชาขาว ระยะเวลาในการแช่ใบชา 1 – 2 นาที อุณหภูมิต้มน้ำ 70 องศาเซลเซียส
ชาเขียวระยะเวลาในการแข่ใบชา 2 – 3 นาที อุณหภูมิต้มน้ำ 80 องศาเซลเซียส
ชาอู่หลง ระยะเวลาในการแช่ใบชา 3 – 4 นาที อุณหภูมิต้มน้ำ 90 องศาเซลเซียส
ชาดำ ระยะเวลาในการแช่ใบชา 3 – 4 นาที อุณหภูมิต้มน้ำ 100 องศาเซลเซียส
ชาสมุนไพร ระยะเวลาในการแช่ใบชา 3 – 4 นาที อุณหภูมิต้มน้ำ 100 องศาเซลเซียส
ขอบคุณรูปภาพจากgopaldharaindia.com
เราจะแยกการดื่มชาตามวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ
อังกฤษ ชาวอังกฤษแบ่งการดื่มชาออกเป็น 3 เวลา คือ เช้า บ่าย และเย็น แต่จะให้ความสำคัญกับการดื่มชา ช่วงเวลาอาหารเช้าและอาหารเย็น เพราะเป็นอาหารมื้อใหญ่ โดยจัดขึ้นในหลายสถานที่ เช่น การดื่มชาในสวน ดื่มชาในห้องนั่งเล่น หรือในงานเลี้ยงเต้นรำต่างๆ ธรรมเนียมการดื่มชาแบบชาวอังกฤษการ ชาวอังกฤษมักจะชื่นชอบชาดำ ไม่ว่าจะมาจาก จีน อินเดีย ศรีลังกา แอฟริกา
Breakfast Tea เป็นการดื่มชาในช่วงอาหารเช้า ปกติอาหารเช้าแบบอังกฤษจะมีอาหารมากมาย ทั้งน้ำผลไม้สด เบคอน ไข่ คอนเฟลกซ์ เมนูปลา สลัด ขนมปังปิ้ง และ ชาอังกฤษ ชาที่นิยมดื่มรสชาติค่อนข้างเข้มควรดื่มชาอิงลิชเบรกฟาสต์ (English Breakfast Tea)
Low tea หรือ Afternoon tea คือการเรียก แทนการจิบน้ำชายามบ่ายพร้อมขนมพอดีคำ ซึ่งอาจเรียกว่า Low Tea เพราะมักจดวางลงบนโต๊ะทรงเตี้ย มักถูกเสริฟ์มาพร้อม Scones ซึ่งเป็นบิสกิตรสออกหวานมีลักษณะคล้ายมัฟฟิน แต่มีเนื้อแห้งและร่วนกว่า บางที่อาจใส่ลูกเกดลงไปด้วย นิยมเสิร์ฟพร้อมกับ Clotted creamและแยม พร้อมด้วยขนมเค้กชิ้นเล็ก จำพวกคัพเค้ก พายหวาน หรือ ทาร์ต ต่างๆ ส่วนใบชาที่นิยมใช้ทำน้ำชานั้นจะเป็นชาเขียวหรือชาดำ ควรดื่ม ชาดาร์จีลิง หรือชาวินเทจ ดาร์จีลิง (Vintage Darjeeling Tea)
ขอบคุณรูปภาพจากhttp://he-maynard.com
Hight tea คือการดื่มชาในมืออาหารหลักซึ่งจะถูกจัดขึ้นบนโต๊ะอาหารที่มีลักษณะทรงสูง ควรดื่ม ชาเอิร์ลเกรย์ (Earl Grey Tea) เป็นชาสูตรผสมระหว่างชาดาร์จีลิง ชาจีน และแต่งกลิ่นด้วยสมุนไพร มีรสฝาดเฉพาะตัว เหมาะสำหรับล้างคอหลังมื้ออาหาร
ขอบคุณรูปภาพจากthe-maynard.com
Evening Tea เหมาะกับการดื่มชาสมุนไพรที่ไม่มีคาเฟอีน เช่น คาโมไมล์เพื่อทำให้หลับสบาย
Night tea ควรดื่ม Jasmine Tea หรือ ชากลิ่นมะลิ และ Rose Tea หรือชากลิ่นกุหลาบ ซึ่งกลิ่นหอมจากดอกไม้ของชาทั้งสองชนิดช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและหลับสบายตลอดคืน
ขอบคุณรูปภาพจากhttps://www.pinterest.cl/pin/710161434970831438/
จีน คนจีนนิยมดื่มน้ำชาเป็นกิจวัตร และให้ความสำคัญกับรสชาติ สรรพคุณของชาแต่ละชนิดมากกว่าการชงชาด้วยพิธีรีตองที่ซับซ้อน นิยมดื่มหลังอาหารเพื่อช่วยล้างกลิ่นคาวและความมันในช่องปาก พร้อมทั้งช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องดื่มสำหรับต้อนรับแขกหรือตั้งวงสนทนาระหว่างเพื่อนฝูง กาน้ำชาจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับครอบครัวคนจีน คนจีนนิยมดื่มชาควบคู่กับของว่างพวกติ่มซำ เช่น ซาลาเปา ขนมจีบ หมั่นโถว เป็นต้นมารยาท
การดื่มชาแต่ละแห่งจะไม่เหมือนกัน ที่กรุงปักกิ่งเมื่อเจ้าของบ้านยกถ้วยน้ำชามาให้แขกต้องลุกขึ้นทันทีและเอาสองมือรับไว้พร้อมกับกล่าวคำขอบคุณด้วย ทางภาคใต้ของจีนเช่นมณฑลกวางตุ้ง และ มณฑลกวางสี พอเจ้าของบ้านยกชามาให้ แขกต้องใช้นิ้วกลางขวามือเคาะโต๊ะเบา ๆ สามครั้ง เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณ สำหรับบางท้องถิ่นหากแขกต้องการดื่มชาต่อก็ควรเหลือน้ำชาสักเล็กน้อยไว้ในถ้วย เมื่อเจ้าของบ้านเห็นแล้วก็จะรินชาเติมให้แต่หากดื่มน้ำชาในถ้วยจนหมด เจ้าของบ้านก็จะคิดว่าแขกไม่อยากดื่มอีกทำให้ไม่ต้องเติมน้ำชาอีกครั้ง
น้ำชาเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในชีวิตประจำวันของชาวจีน ไม่ว่าจะเป็นเวลาทำงาน กินข้าว รับรองแขก ก็ล้วนแต่นิยมดื่มน้ำชากันทั้งนั้น เพราะให้กลิ่นหอม แก้กระหายน้ำ แก้ร้อนใน และยังเป็นผลดีต่อการบำรุงสมอง และร่างกายอีกด้วย
ขอบคุณรูปภาพจากhttps://gurunavi.com
ญี่ปุ่น พิธีชงชาที่เกิดขึ้นในประเทศจีนนั้น เมื่อเข้ามาสู่ญี่ปุ่น ก็ได้พัฒนาให้เป็นในแบบเฉพาะญี่ปุ่นเองซึ่งค่อนข้างละเอียดอ่อน ปราณีต ถูกนำไปใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่16 ลัทธิเซนมีอิทธิพลต่อพิธีชงชาอย่างมาก พิธีชงชาที่ว่ากันว่ามีหลักคำสอนของลัทธิเซนอยู่ด้วย ส่วนใหญ่จะใช้ชาเขียวผงในพิธีชงชาแทนชาเขียวธรรมดาทั่วไป
เมื่อมองเข้าไปถึงในแก่นแท้ของพิธีชงชานั้น จะเข้าใจถึงปรัชญาการนึกคิด ซะโด คือการทำจิตใจ จิตวิญญาณให้มีความสงบคนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการดื่มชาเช่นเดียวกับชาวจีน ซึ่งเป็นการสร้างความผูกพันทางจิตใจระหว่างผู้ชงชา (เจ้าภาพ) และผู้ดื่ม (ผู้มาเยือน) มากกว่าการสังสรรค์ โดยผ่านพิธีชงชาอันละเมียดละไม เพื่อให้ได้สัมผัสทั้งรูป รสและกลิ่นของชาอย่างแท้จริง โดยใช้ “มัตชา” หรือผงชาเขียว พิธีชงชาแต่ละครั้งใช้เวลานานประมาณ 4-5 ชั่วโมง ส่วนในชีวิตประจำวันทั่วไป คนญี่ปุ่นดื่มชาเป็นกิจวัตร และแบ่งออกเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ช่วงสาย และช่วงบ่าย และนิยมดื่มคู่กับเซมเบ้ หรือข้าวอบกรอบ ขนมไดฟูกุ หรือขนมโดรายากิ เป็นต้น
ขอบคุณรูปภาพจากhttps://www.clcworld.com
การดื่มชาของชาวตะวันออกกลาง
การดื่มชาของประเทศแถบนี้ไม่เน้นขั้นตอนยุ่งยาก แต่นิยมดื่มชาเพื่อผ่อนคลายเท่านั้น ใช้การชงด้วยชาดำหรือชาเขียวแบบเข้มข้น เติมน้ำตาล เครื่องเทศ หรือนมได้ตามชอบ และดื่มจากถ้วยเล็กๆ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เน้นรสหวานจัด ทำให้ชุมคอ และช่วยแก้กระหายได้ดี
ในบรรดาเครื่องดื่มของสัมคมมนุษย์ในปัจจุบัน ไม่มีเครื่องดื่มอะไรที่เป็นที่นิยมชมชอบของมนุษย์ได้มากเท่า “ชา” ชานับเป็นเครื่องดื่มอันดับ 2 รองจาก “น้ำเปล่า”นอกจากสรรพคุณมากมายแล้ว การนั่งจิบชาคุยกันก็เป็นการผ่านคลายที่ดีทั้งต่อสุขภาพการและใจอีกด้วย