เรื่องของชาจิบชาให้สุขภาพดีและมีรสนิยม

เรื่องของชาจิบชาให้สุขภาพดีและมีรสนิยม

สารบัญ

     ที่มาที่ไปของชา เกิดขึ้นที่เมืองจีนสมัยจักรพรรดิ เสินหนิง(Shen Nung) ในตำนานของจีน เป็นบัณฑิตและนักสมุนไพร เมื่อสองพันกว่าปีก่อนคริสตการ ซึ่งพระองค์ได้ นั่งต้มน้ำให้สะอาดเพื่อดื่ม ใกล้ๆกับต้นชา บังเอินลมได้พัดกิ่งไม้ตีกันจนใบชาหล่นใส่หม้อต้มน้ำ ทำให้เกิดกลิ่นหอม และสีน้ำได้เปลี่ยนไป พอพระองค์ได้กลิ่นจึงทดลองดื่ม พอได้ดื่มก็มีรสชาติดี เกิดความรู้สึกกระปรี้กระเปร่า สดชื่นแจ่มใส ทำให้การค้นพบโดยความบังเอิญนี้เป็นที่นิยมแพร่หลาย 

     ในเมืองจีนสมัยหลังๆ มาจึงมีการปลูกชาและพัฒนาขั้นตอนการผลิตมาเรื่อยๆ ในสมัยราชวงศ์ถัง เป็นยุคทองของชา มีการดื่มเป็นประจำทุกวันเ พื่อเป็นยาบำรุงกำลังและรักษาสุขภาพ ในสมัยราชวงศ์ซ้อง จะเพิ่มรสสัมผัสบางอย่างลงไปในชาเช่นน้ำมันจากดอกมะลิ ดอกบัว และดอกเบญจมาศ มีบทบาทอย่างสูงต่อวัฒนธรรมของเอเชียมาหลายศตวรรษ

      ในประเทศไทย พบการดื่มชาตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัย เป็นสมัยที่เริ่มมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมค้าขายกับจีน แต่ก็ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดในการนำเข้ามา ในสมัยของพระมหากษัตริย์องค์ใด แต่พบหลักฐานในการดื่มชาและชงชาในสมัยของ สมเด็จพระหน้ารายมหาราช ในจดหมายเหตุ ลาลูแบร์

การเด็ดใบชาแบ่งออกได้ 3 ระดับ

ขอบคุณรูปภาพจากpixabay.com

การเด็ดใบชาแบ่งออกได้ 3 ระดับ

Super fine plucking คือ การเก็บเฉพาะยอดอ่อนที่ไม่ผลิใบหรือ 2 ใบบนเท่านั้น มักนำมาทำชาเป็นชาขาวคุณภาพ

Fine plucking คือ การเก็บเฉพาะ 3 ใบบนเท่านั้น นำมาเป็นชาดำและชาเขียวคุณภาพ

Medium plucking คือ จะเด็ดบริเวณใต้ใบที่ 4 เป็นชาที่คุณภาพรองลงมา

ชา 5 ประเภท ทั้งห้าประเภทนี้ สามารได้มาจากชาในต้นเดียวกันแต่แตกต่างด้วยการผ่านกรรมวิธีในการทำจึงออกมาในลักษณะชาที่มีความหลากหลาย

ประเภทของชา

ขอบคุณรูปภาพจากen.m.wikipedia.org

ประเภทของชา

ชาขาว ใบตูมและยอดอ่อนของชาที่ถูกทิ้งให้สลด ไม่ผ่านกระบวนการหมัก จึงทำให้น้ำชาที่ได้ออกมามีสีเหลืองอ่อน

ชาเขียว ใบชาที่ผ่านการนึ่งหรือคั่วเพื่อให้ความร้อนทำลายเอนไซม์ในใบชาเพื่อคงสภาพความเขียวของใบชาจากการผลิตที่ผ่านกระบวนการน้อยทำให้ชาเขียวยังคงมีสารอาหารที่มีประโยชน์หลงเหลืออยู่มากกว่าชาชนิดอื่น

ชาดำ ใบชาที่ทิ้งให้สลดและผ่านการม้วนกลึงด้วยลูกกลิ้ง จากนั้นนำไปหมักบ่มจนครบกระบวนการ จะมีสีแดงเข้มจนถึงสีดำ

ชาอู่หลง ใบชาทิ้งให้สลด นวด และบ่มเล็กน้อยทำให้สรรพคุณอยู่ระหว่างชาดำและชาเขียว

ชาสมุนไพร ที่จริงแล้วชาชนิดนี้เป็นประเภทที่ไม่ได้ทำมาจากใบชา แต่เป็นชาที่ได้จากพืชตากแห้งชนิดต่างๆ เช่นชาตักใคร้ ชาใบเตย ชาดอกคำโมมาย ชากระเจี๊ยบ เพราะมีส่วนผสมของคาเฟ่อีนเหมือนในชาที่ทำจากใบชาอีกด้วย

ประโยชน์ของชา

ขอบคุณรูปภาพจากredandhoney.com

ประโยชน์ของชา

ทำให้กระชุ่มกระชวย กระตุ้นไม่ให้ง่วงนอนทำให้ตาสว่าง แก้อาการร้อนในกระหายน้ำ บำรุงหัวใจ แก้อาการปวดท้องและท้องเสีย ช่วยการย่อยอาหารขับปัสสาวะ ขับสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยต้านอนุมูนอิสระ ชะลอความชลา ขับไขมันและลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยการไหลเวียนของโลหิต ช่วยขยายหลอดเลือด ป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจติดตัน

ข้อควรระวังในการดื่มชา

ผู้ที่ไตทำงานบกพร่องหรือมีอาการไตวาย ผู้ที่มีอาการเกี่ยวกับกระเพาะอาหารลำไส้อักเสบ กระเพาะเป็นแผล สตรีตั้งครรภ์ สตรีให้นมบุตร ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจผู้ที่มีใข้สูง ผู้ที่เป็นโรคนอนไม่หลับ รวมถึงเด็กอายุต่ำกว่าสามขวบไม่ควรดื่ม

จริงๆแล้วการดื่มชานั้นดีกับสุขภาพของเรามากมาย ทำให้ผ่อนคลาย ดูมีไลฟสไตล์ แต่การดื่มที่ไม่พอดี ดื่มเยอะเกินไปอาจจะทำให้นอนไม่หลับส่งผลกระทบต่อการนอนพักผ่อนไม่เพียงพอจนเสียสุขภาพ

Poster 24

Poster 24

ผู้คว่ำหวอดในวงการสุขภาพแนวหน้าในประเทศไทย

รวมเรื่องน่ารู้สำหรับพ่อแม่มือใหม่

เรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับผู้หญิง

ดูแลผิวพรรณ เส้นผม เครื่องสำอาง