เคล็ดลับวิธีรักษาโรคเกลื้อนด้วยสมุนไพรไทย ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ ! 

สุขภาพ

สารบัญ

ในช่วงหน้าร้อนที่มักเป็นปัญหา ทำให้ร่างกายมีเหงื่อไคลไหลย้อยกันได้อยู่เสมอจนเกิดการหมักหมม จนอาจเป็นที่มาของการเกิดเชื้อราในบริเวณต่างๆที่มีความอับชื้นในร่างกายได้ จนอาจทำให้บางคนถึงกับเป็นเกลื้อนกันได้เลยทีเดียว ! ซึ่งในวันนี้เราได้รวบรวม เคล็ดลับวิธีรักษาโรคเกลื้อนด้วยสมุนไพรไทย ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ ! มาฝาก ซึ่งเราเชื่อว่าอาจมีใครเคยประสบปัญหาเหล่านี้กันมาบ้างแล้วอย่างแน่นอน จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้เราได้นำเรื่องราวที่เกี่ยวกับการรักษาเกลื้อนแบบง่ายๆมาฝาก ซึ่งเราเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อคุณได้ไม่น้อยเลยทีเดียว หากอยากทราบกันแล้วว่า สมุนไพรแต่ละชนิดนั่นมีอะไรบ้าง อย่ารอช้ากันอยู่เลยค่ะ เราไปดูรายละเอียดกันเลยดีกว่า 

โรคเกลื้อนคืออะไร ? 

โรคเกลื้อนคืออะไร ? 

หากเอ่ยถึงโรคเกลื้อนคงไม่มีใครอยากเป็นกันอย่างแน่นอน สำหรับเกลื้อนนี้คือโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราที่มีชื่อว่า Malassezia spp. ซึ่งมักจะเกิดขึ้นบริเวณผิวหนังที่มีความอับชื้น โดยเฉพาะผู้ที่มักทำงานแบกหามใช้แรงงาน ที่มีเหงื่อมากๆ หรือนักกีฬาที่เหงื่ออกแล้วสวมเสื้อผ้า ที่มีความอับชื้นเป็นเวลานานๆ จนเกิดการหมกหมมาะสมให้มีต่อมไขม้นเยอะ 

ส่วนใหญ่สำหรับในผู้ชายมักจะเกิดขึ้นตามบริเวณ ต้นคอ หลัง ไหล่ หน้าอก และในผู้หญิงมักจะเกิดขึ้นตามบริเวณ ร่องอก หรือแผ่นหลังช่วงตะขอเสื้อชั้นใน เนื่องจากเมื่อเหงื่ออกมาก ก็อาจมีการสะสมความอับชื้นต่างๆได้ จนเป็นสาเหตุของโรคผิวหนังที่เรียกว่า เกลื้อน นั่นเอง จึงเหตุผลที่เราได้รวบรวมวิธีรักษาแบบง่ายๆด้วยตัว โดยใช้สมุนไพรไทยมาช่วยในดารรักษาให้กับคุณในครั้งนี้ ดังต่อไปนี้

1. ใบชุมเห็ดเทศ 

1. ใบชุมเห็ดเทศ 

 จะพาคุณมารู้จักกับสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการใช้รักษาเกลื้อนที่มีชื่อว่า  ใบชุมเห็ดเทศ  ซึ่งสมุนไพรชนิดนี้ถูกนำมาใช้รักษาเกลื้อนกันมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมีวิธีการการนำมาใช้รักษาแบบไม่ยาก เริ่มจาก ให้คุณนำใบชุมเห็ดเทศประมาณ 5 ใบ มาตำร่วมกับกระเทียมประมาณ 5 กลีบ จะเป็นเทียมแบบใดก็ได้ เพราะมีสรรพคุณเหมือนกัน 

เมื่อโขลกตำให้เข้ากันจนอย่างละเอียดจนเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว ให้เติมปูนแดงลงไปนิดหน่อย คลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วนำมาทาที่บริเวณผิวหนังที่มีเกลื้อนขึ้น ให้ทาหลังจากอาบน้ำหรือทำความสะอาดร่างกายเรียบร้อยแล้ว วันละประมาณ 3-4 ครั้ง ติดต่อกับเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เชื้อราต่างๆก็จะลดลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งคุณสามารถทำวิธีนี้ได้จนเชื้อราหายขาด แล้วจึงค่อยหยุดทำก็ได้ 

2. กะเพรา

2. กะเพรา

มาต่อกันกับอีกหนึ่งสมุนไพรที่เราเชื่อว่าใครๆก็ต้องรู้จัก ซึ่งมีชื่อว่า กะเพรา  นอกจากจะอยู่ในเมนูอาหารจานโปรดแล้ว ยังมีสรรพคุณที่ช่วยรักษาโรคเหลื้อนได้อย่างดีอีกด้วย วิธีทำก็ไม่ยาก เพียงเรื่มต้นด้วยการนำใบกะเพราะสดประมาณ 20 ใบ สามารถใช้กะเพราใดก็ได้ แต่ถ้าจะให้ควรใช้กะเพราะแดงใบเล็ก 

นำมาล้างให้สะอาด จากนั้นให้คุณนำมาโขลกให้ละเอียด จนมีน้ำจากใบกะเพราะไหลออกมา ซึ่งน้ำที่ไหลออกมานี้คือยาชั้นดีในการรักษาเกลื้อนนั่นเอง โดยให้คุณนำน้ำจากใบกะเพราะที่โขลกไว้มาทาตามบริเวณที่มีเกลื้อน ให้ทาทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีแล้วจึงล้างออก หากผู้ที่แพ้ง่ายและมีอาการแสบร้อนจนทนไม่ไหวก็สามารถล้างได้ภายใน 10 นาทีแรก แต่การก่อนจะนำมาทานั้น จำเป็นจะต้องทำความสะอาดร่างกายให้สะอาดเสียก่อน ซึ่งคุณสามารถนำวิธีนี้วันละ 3 ครั้ง เพื่อให้เกลื้อนหายเร็วขึ้น สามารถทำวิธีนี้ติดต่อกันจนเชื้อราหายสนิท แล้วจึงหยุดทำ 

3. ดอกผักบุ้งนา

3. ดอกผักบุ้งนา

มาต่อกันกับอีกหนึ่งผักที่เป็นสมุนไพรชั้นดีและมีสรรพคุณในการรักษาเกลื้อนได้แบบเหลือเชื่อ ซึ่งมีชื่อว่า ดอกผักบุ้งนา เชื่อว่าใครหลายคนต้องเคยพบเห็นกันอย่างแน่นอน สำหรับวิธีนำมาใช้ก็สามารถทำได้แบบง่ายๆก็คือ ให้นำดอกผักบุ้งนาที่เป็นดอกตูมโดยใช้ประมาณ 10 ดอกนำมาล้างทำความสะอาดให้ดีจากนั้นก็นำมาสรุปเบาๆ ไม่ต้องละเอียดมาก

เมื่อได้ที่แล้วก็ไม่ควรนำมาทาในบริเวณผิวหนังที่มีกลากเกลื้อน ให้คุณปล่อยทิ้งไว้สักพักจนแห้งอาจจะประมาณ 20 – 30 นาที แต่ต้องรอจนแห้งแล้วจึงล้างออกซึ่งคุณสามารถทำวิธีนี้ได้อย่างเป็นประจำทั้งเช้าและเย็นแต่ก่อนที่จะนำมาทาหรือพอกตามบริเวณผิวหนังที่มีเกลื้อนนั้นควรทำความสะอาดร่างกายในบริเวณนั้นให้สะอาดเสียก่อนทั้งนี้ เพื่อลดความหมักหมมและช่วยทำให้อาการเกลื้อนหายได้เร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งคุณสามารถทำวิธีนี้ได้จนกว่าเชื้อราต่างๆจะหายไป

4. เปล้าน้อย

4. เปล้าน้อย

มาต่อกันกับอีกหนึ่งสมุนไพรที่มีชื่อว่า  เปล้าน้อย  ซึ่งอาจเป็นสมุนไพรที่ใครหลายคนไม่ค่อยจะคุ้นหูกันมากนักแต่มีสรรพคุณที่เป็นยารักษาเกลื้อนได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งวิธีทำเราจะใช้ในส่วนของใบและรากสด โดยให้คุณนำใบสดประมาณ 5 ใบและรากสดประมาณ 2-3 ราก นำไปล้างให้สะอาดแล้วนำมาตำจนละเอียด เมื่อตามจนละเอียดเป็นเนื้อเดียวกันแล้วจะสังเกตุเห็นว่ามีน้ำออกมา ซึ่งเราจะใช้ส่วนของน้ำที่ไหลออกมาจากรากและใบนี้ นำมาทาในบริเวณผิวหนังที่เกิดกลากเกลื้อน โดยพอกทิ้งไว้ประมาณ 20 – 30 นาทีหรือพอกไว้จนแห้ง 

แล้วค่อยล้างออกและสิ่งสำคัญก่อนที่จะนำมาทานั้น คุณควรทำความสะอาดผิวหนังในบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนให้สะอาดเสียก่อน ทั้งนี้เพื่อลดอาการหมักหมมและเพื่อให้เกลื้อนหายได้เร็วที่สุด ซึ่งคุณสามารถทำได้ 2 ครั้ง หลังอาบน้ำต่อวัน และสามารถทำวิธีนี้ติดต่อกันจนกว่าเชื้อราต่างๆจะหายไป นอกจากนี้หากคุณนำรักมาต้มดื่มก็จะช่วยลดการอักเสบของโรคกระเพาะได้

5. อัคคีทวาร

5. อัคคีทวาร

มาต่อกันกับสมุนไพรที่มีชื่อว่า อัคคีทวาร ซึ่งมีเป็นสมุนไพรที่มีดอกสวยงามสีม่วงอมขาว เป็นสมุนไพรที่ใครหลายคนอาจไม่ค่อยจะคุ้นหูกันมากนัก ถือเป็นสมุนไพรที่ค่อนข้างหายากกันพอสมควร แต่มีสรรพคุณในการรักษาโรคเกลื้อนและโรคผิวหนังได้เป็นอย่างดี ซึ่งการนำมาใช้นั้น ให้คุณเลือกใบและลำต้นในส่วนของยอดนำมาล้างให้สะอาด จากนั้นให้คุณนำมาตำให้ละเอียด จะสังเกตเห็นว่ามีน้ำออกมาจากใบและลำต้น ก็ให้คุณนำน้ำนั้นมาทาในบริเวณผิวหนังที่มีอาการเกลื้อนเกิดขึ้นได้เลย 

แต่จำเป็นจะต้องทำความสะอาดร่างกายและผิวหนังในบริเวณที่คุณจะทาให้ดีเสียก่อน ให้ทาจนน้ำที่ได้จากใบและลำต้นนั้นแห้ง ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 30-40 นาที เมื่อแห้งแล้วก็ให้คุณล้างออก ซึ่งคุณสามารถทำได้วันละประมาณ2-3 ครั้ง เพื่อให้เกลื้อนหายเร็วมากยิ่งขึ้น และสามารถทำวิธีนี้จนกว่าเชื้อราทั้งหมดจะหายไป นอกจากนี้สมุนไพรที่มีชื่อว่าอัคคีทวารนี้ ยังมีคุณสมบัติในการช่วยลดอาการปวดหัวเรื้อรังรวมไปถึงอาการขับตามข้อกระดูกได้อีกด้วย

6. ข่า

6. ข่า

มาต่อกันกับสมุนไพรพื้นบ้านที่ผู้คนส่วนใหญ่มักนำมาทำอาหารโดยเฉพาะเมนูต้มยำซึ่งมีชื่อเรียกว่า ข่า  ที่หักเอ่ยชื่อมาแล้วคงไม่มีใครไม่รู้จักกันอย่างแน่นอน อีกทั้งยังมีสรรพคุณในการช่วยรักษาโรคกลากเกลื้อนได้เป็นอย่างดี วิธีทำก็คือให้คุณเลือกเหง้าแก่ของข่า ขนาดเท่าหัวแม่มือมาประมาณ 2 หัว แต่ขนาดที่จะนำมาใช้นั้นขึ้นอยู่กับว่า บริเวณผิวหนังที่มีเหลื้อนนั้นมีขนาดใหญ่มากน้อยเท่าใด เมื่อได้หัวข่าแล้ว ให้คุณนำมาล้างทำความสะอาดให้ดี จากนั้นนำมาตำโดยไม่ต้องปลอกเปลือก ตำให้ละเอียดจนเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วให้คุณเติมเหล้าขาวปเพียงเล็กน้อยผสมลงไป

ทำการคลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นให้คุณนำมาทางในบริเวณที่มีอาการกลากหรือเกลื้อน แต่จำเป็นจะต้องทำความสะอาดบริเวณผิวหนังที่ต้องการถ้าให้ดีเสียก่อนเพื่อลดการหมักหมมและสิ่งสกปรกที่อาจสะสมอยู่ ให้คุณทาพอกไว้ประมาณ 30 – 40 นาทีจากนั้นให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาด ซึ่งคุณสามารถทำวิธีนี้ได้จนกว่าเชื้อราที่มีจะหายขาดสนิท และหากอยากให้อาการเคลื่อนหายอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้นควรทำประมาณวันละ 2-3 ครั้ง ในทุกๆวันอย่างสม่ำเสมอ

7. กระเทียม 

7. กระเทียม 

และจะพาคุณมาปิดท้ายกันด้วยเครื่องเทศที่ถือเป็นสมุนไพรชั้นดี ที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคผิวหนังได้อย่างยอดเยี่ยมซึ่งก็คือ กระเทียม ซึ่งหากเอ่ยชื่อกันแล้วคงไม่มีใครไม่รู้จักกันอย่างแน่นอน สำหรับวิธีการนำมาใช้ก็ไม่ยากกินให้คุณเลือกคัดกระเทียมสดที่มีความสมบูรณ์ ประมาณ 9-10 กลีบ จากนั้นนำมาล้างทำความสะอาดและปอกเปลือกให้เรียบร้อย โดยให้คุณนำกระเทียมมาตำให้ละเอียดจนมีน้ำออกมาจากเนื้อกระเทียม จากนั้นหลังจากที่คุณทำความสะอาดร่างกายในบริเวณที่เป็นเกลื้อนเรียบร้อย 

แล้วจึงให้คุณนำน้ำกระเทียมที่ได้จากการตำนั้นมาทา ควรทาพอกทิ้งไว้ประมาณ 20 – 30 นาทีหรืออาจรอให้แห้งแล้วจึงล้างออก ซึ่งคุณสามารถนำน้ำกระเทียมนี้มาทาในบริเวณที่เป็นเกลื้อนได้ประมาณวันละ 3-4 ครั้ง หรืออยากให้เกลื้อนหายไปโดยเร็วที่สุด ก็ควรทำติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอในทุกๆวันจนกว่าเชื้อราต่างๆจะหายไปยังสนิท หรือสำหรับบางสูตรนั้นก็อาจนำมาผสมกับเหล้าขาว แล้วนำมาทาได้เช่นกัน

เคล็ดลับวิธีรักษาโรคเกลื้อนด้วยสมุนไพรไทย ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ !   ที่ 2

อย่างไรก็ตามหากอยากให้โรคกลากและเกลื้อนนั้นหายไปอย่างถาวร ก็ควรหมั่นรักษาความสะอาดร่างกายโดยอาบน้ำบ่อยๆ และไม่ควรใส่เสื้อผ้าซ้ำกันหรืออับชื้นนะคะ ทั้งนี้เพื่อลดการเกิดเชื้อราที่บริเวณผิวหนังต่างๆในร่างกายของเรานั่นเอง ซึ่งเราหวังอย่างยิ่งว่าเรื่องราว เคล็ดลับวิธีรักษาโรคเกลื้อนด้วยสมุนไพรไทย ด้วยตัวเองแบบง่ายๆ !   ที่เราได้นำมาฝากกันในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ ที่ทำให้คุณสามารถนำเคล็ดลับเหล่านี้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้ สำหรับวันนี้ต้องขออนุญาตลากันไปก่อน แล้วพบกันใหม่กับเรื่องราวดีๆ ที่เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพจากพวกเราได้ในครั้งต่อไป หากผิดพลาดประการใดพวกเราทีมงานต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่านโชคดีและมีสุขภาพแข็งแรง

Poster 24

Poster 24

ผู้คว่ำหวอดในวงการสุขภาพแนวหน้าในประเทศไทย

รวมเรื่องน่ารู้สำหรับพ่อแม่มือใหม่

เรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับผู้หญิง

ดูแลผิวพรรณ เส้นผม เครื่องสำอาง