ออฟฟิศซินโดรม เป็นอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด เนื่องมาจากการใช้งานของ กล้ามเนื้อ ในตำแหน่ง เดิมซ้ำๆ ด้วยระยะเวลาที่ยาวนาน และต่อเนื่อง เช่น การนั่งทำงานที่อยู่ในท่าเดิม โดยไม่มีการเปลี่ยนท่าทาง จนทำให้เกิด การสะสมของความปวดเมื่อย และได้กลายเป็นความปวดที่เรื้อรังในที่สุด ซึ่งอาจมีอาการชา บริเวณนิ้วมือ บริเวณแขน เนื่องมาจากเส้นประสาทส่วนปลาย นอนกดทับ อย่างยาวนาน
และโดยที่อาการปวดที่ คอบ่าไหล่ ถ้าเป็นอาการหลักของออฟฟิศซินโดรม แต่ก็ยังมีโรคอันอื่น อีกหลายโรค ที่จะมีอาการที่คล้ายคลึงกัน จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่เราควร จะได้ทราบอาการเหล่านั้นเบื้องต้น และไม่ปล่อยให้อาการนั้นเรื้อรัง จนเกิดเป็นอันตราย ถึงขั้นต้องผ่าตัดได้ เพราะฉะนั้นเราจะพาไปทราบถึงอาการเบื้องต้นของ ออฟฟิศซินโดรม ให้ทุกท่านได้ทราบกัน

อาการสำคัญของ ออฟฟิศซินโดรม
อาการปวด : โดยทั่วไปผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม ปวดกล้ามเนื้อบริเวณส่วนต่างๆของร่างกายเช่น คอบ่าไหล่ ไปถึงหลัง จะพบอาการปวดเป็นบริเวณที่กว้าง ในบางครั้งไม่อาจระบุตำแหน่งที่ชัดเจนได้ ซึ่งสร้างความรำคาญให้กับการใช้ชีวิตประจำวันหรือการทำงานเป็นอย่างมาก แต่ก็ยังมีอาการที่ใกล้เคียง ที่เป็นไปได้ จากอาการปวด จากสะบัก ร้าวลงแขน อาจเกิดจากกระดูกคอหรือหมอนรองกระดูก ทับเส้นประสาทได้
อาการอ่อนแรง : ตามปกติแล้ว อาการอ่อนแรงจะเป็นผลมาจากอาการปวด จนเมื่อยล้า สำหรับคนที่มีอาการหนัก ถึงขนาด เขียนหนังสือไม่ถนัด หรือเขียนในลายมือที่เปลี่ยนไป การหยิบจับสิ่งของไม่ถนัดเหมือนดังเดิม ให้รีบเข้า พบแพทย์โดยด่วนเพื่อเป็นการวินิจฉัย เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป
อาการชา : จะเป็นอาการที่ปรากฏเด่นชัด เนื่องจาก ปลายประสาทถูกกดทับ ทำให้เกิดมีอาการชาบริเวณปลายนิ้วมือ ยิ่งปล่อยไว้นาน จะเกิดอาการอ่อนแรง ตามมา
อาการมึนงง เดินเซ : หากมีอาการถึงขนาด มึนงง หรือเดินเซ ถือได้ว่าอยู่ในขั้นรุนแรง จนควบคุมกล้ามเนื้อ ตามส่วนต่างๆของร่างกาย ไม่ได้แล้ว จำเป็นต้อง ได้เข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน
เลี่ยงพฤติกรรม ที่นำไปสู่ออฟฟิศซินโดรม
สิ่งสำคัญที่สุดไม่ว่าจะเป็นโรคไหน คือการป้องกันโรคนั้นไม่ให้มันเกิดขึ้นกับเรา จะเป็นการดีที่สุด เพราะฉะนั้นเราต้องมาทราบถึง วิธีป้องกัน เพื่อลดปัญหา การเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม โดยมีข้อแนะนำเบื้องต้นดังนี้
- ไม่ควรทำงาน ในอริยบทเดิม หรือท่าทางเดิมๆ นานเกิน 50 นาที ควรมีการ หยุดพัก เปลี่ยนท่า หรือลุกขึ้นเดิน ยืดเส้นยืดสาย โดยใช้เวลา 10 ถึง 15 นาทีต่อครั้ง
- เลือกใช้อุปกรณ์ ในการทำงาน ให้เหมาะสม เพื่อเป็นการลดความเสี่ยง และลดการบาดเจ็บที่จะเกิดขึ้น ระหว่างทำงาน
- การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ในบริเวณที่ต้องใช้งาน ต้องมีการยืดกล้ามเนื้อ หรือยืดเส้นยืดสาย ระหว่างทำงาน ในแต่ละวัน

แนวทางการรักษา ออฟฟิศซินโดรม
สำหรับแนวทางการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม ในปัจจุบันนั้นมีอยู่หลากหลายวิธี จะเน้นการรักษาเพื่อ ลดอาการปวด อักเสบ ของกล้ามเนื้อ รวมถึงเนื้อเยื่อส่วนอื่นๆ เลยต้องได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยววชาญ โดยในที่นี้ ขอแนะนำ การรักษาด้วยการกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็ก เพื่อลดอาการชา และปวด ได้เป็นอย่างดี
การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็ก จะใช้พลังงานของ แม่เหล็กไฟฟ้า ที่จะเป็นการกระตุ้นผ่านลงไป จนถึงเนื้อเยื่อ และกระดูก คลื่นไฟฟ้าจะทำปฏิกิริยากับระบบประสาทโดยตรง เพื่อช่วยให้มีการไหลเวียนของโลหิต ในบริเวณกล้ามเนื้อ พี่มีอาการปวดได้ดียิ่งขึ้น โดยวิธีการ กระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็ก สามารถใช้บำบัดได้หลายบริเวณ เช่น มือ แขน คอ บ่า หลัง ไหล่ ขา เข่า แทบทุกส่วน รวมไปถึง กล้ามเนื้อ เอ็นกระดูกไขข้อ
วิธีการกระตุ้นด้วยแม่เหล็กไฟฟ้านี้ สามารถ ทำโดยไม่มีผลกระทบไปยังอวัยวะส่วนอื่น และ ในขณะที่ เข้ารับการบำบัด ผู้ที่ได้รับการบำบัด จะรู้สึกผ่อนคลาย โดยไม่มีการสร้างความเจ็บปวด แต่อย่างใด และสามารถเห็นผลได้ทันที หลังเข้ารับการรักษา และวิธีการกระตุ้นด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า ยังสามารถบำบัดอาการ ปวด ทั้งที่เกิดจาก ระบบเส้นประสาท รวมถึง กล้ามเนื้อและกระดูกอีกด้วย
ข้อควรระวัง ร่างกายได้รับการรักษา
นอกจากการเป็นตะคริวแล้ว ในบริเวณกล้ามเนื้อที่ถูกกระตุ้น โดยวิธีการแม่เหล็กไฟฟ้า อาจเกิดอาการระบม คล้ายคลึงกับการ ออกกำลังกายมากเกินไป หลังจากการเข้ารับการรักษา ควรมีการพักผ่อน เมื่อคืน แล้วอาการจะกลับมาเป็นปกติ ภายใน 2-3 วัน นอกจากการรักษาด้วยวิธีนี้แล้ว ยังมีการรักษาด้วยวิธีอื่นๆอีกหลากหลายวิธี ดังต่อไปนี้
- การรักษาด้วยคลื่นกระแทก เพื่อซ่อมแซมบริเวณที่มีการบาดเจ็บ
- การรักษาด้วยการยืดกล้ามเนื้อ ที่ควบคุมโดยนักกายภาพบำบัด
- การรักษาด้วยการฝังเข็ม โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- การรักษาโดยการรับประทานยา
เราจะเห็นแล้วว่า ออฟฟิศซินโดรมนั้น ไม่ใช่โรคที่ธรรมดาเลยทีเดียว ไม่ใช่แค่การปวดเมื่อย แต่มันยังส่งผลถึงการดำเนินชีวิต ที่อาจทำให้ไม่เป็นปกติต่อไป เพราะฉะนั้น ต้องมีการป้องกันไม่ให้เกิด หรือหากเกิดขึ้นแล้วต้องได้รับการรักษาที่ถูกวิธี และเหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด ขอให้ทุกท่าน ห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บ และมีความสุขกับการใช้ชีวิตนะครับ
4 ท่าพิชิต Office syndrome
เกมส์ออนไลน์แนะนำ >>> บาคาร่า