โอ๊ะโอ…เป็นเรื่องแล้วหละสิ จู่ๆข้อเท้าก็ดันปวดขึ้นมาซะงั้น อาการปวดข้อเท้านั้นมักพบได้บ่อยกับผู้ที่ยืนเป็นเวลานานๆ เป็นภาวะที่รู้สึกไม่สบาย เพราะอาการปวดส่วนใดส่วนหนึ่งของข้อเท้า และนั่นอาจจะเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุตั้งแต่อาการข้อเท้าเคล็ดธรรมดา ไปจนถึงขั้นกระดูกข้อเท้าหักก็เป็นได้ แต่ในวันนี้เราจะขอเสนอ วิธีแก้ปวดข้อเท้าได้ผลชะงัด! ซึ่งเป็นการบรรเทาอาการปวดเบื้องต้นเท่านั้นค่ะ
1. พักข้อเท้า
สำหรับผู้ที่ใช้งานข้อเท้าหนัก แอดแนะนำว่าให้พักการใช้งานข้อเท้าซัก2 – 3 วันและเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการหลีกเลี่ยงการลงน้ำหนักบนข้อเท้า ซึ่งอาจจะใช้ไม้ค้ำยันพยุงตัวช่วยเดินเพื่อลดการทิ้งน้ำหนักลงบนข้อเท้านั่นเองค่ะ
2. ประคบเย็น
เครดิต : www.freepik.com
เมื่อได้รับบาดเจ็บในระยะแรกแอดแนะนำให้ประคบเย็นด้วยกันนำถุงน้ำแข็งวางลงข้อเท้าในข้างที่ปวดเป็นเวลา 20 นาทีและต้องทิ้งช่วงห่างไว้ประมาณชั่วโมงครึ่งก่อนประคบเย็นอีกครั้งหนึ่งซึ่งอาจจะทำซ้ำได้ประมาณ 3 – 5 ครั้งต่อวัน เพราะการประคบเย็นจะช่วยให้บรรเทาอาการบาดเจ็บ รวมไปถึงลดอาการบวมได้
3. ประคองข้อเท้า
เครดิต : www.freepik.com
การประคองข้อเท้า วิธีการก็คือใช้ผ้าพันแบบยึดพันในบริเวณข้อเท้า เพื่อประคองข้อเท้าไว้ไม่ให้ขยับหรือเคลื่อนที่มากเกินไป แต่ข้อควรระวังนั้นก็ห้ามพันแน่นจนเกินไปนะคะ เพราะนั่นอาจจะทำให้บริเวณเท้ามีอาการชา รวมไปถึงนิ้วเท้าอาจจะเปลี่ยนสี เป็นสีที่คล้ำได้เนื่องจากเลือดไม่ไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงในบริเวณที่พันนั่นเองค่ะ
4. ยกข้อเท้าให้อยู่ที่สูง
เครดิต : www.freepik.com
วิธีนี้เป็นวิธีง่ายๆที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์อะไรเลยค่ะ เพียงแค่เมื่อมีอาการปวด ในช่วงเวลาที่เราต้องนั่งหรือต้องนอนแอดแนะนำให้ยกเท้าขึ้นสูงเหนือระดับหัวใจ วิธีการก็คือโดยอาจจะใช้หมอนซักสองใบรองไว้ใต้ข้อเท้า เพียงเท่านี้ก็จะทำให้เราสามารถบรรเทาอาการปวดข้อเท้าได้แล้วล่ะค่ะ
5. ใช้ยารักษา
เครดิต : www.freepik.com
เมื่อทำวิธีข้างต้นไม่หายแล้วนั้นอาจจะต้อง รับประทานยาแก้ปวดที่สามารถหาซื้อเองได้ เช่น ยาพาราเซตามอล หรือยาไอบูโพรเฟน ทั้งนี้การรับประทานยาต้องอ่านคำเตือนตามฉลากอย่างเคร่งครัดด้วยนะคะ
อย่างไรก็ตามเมื่อทำตามบทความ วิธีแก้ปวดข้อเท้าได้ผลชะงัด! ที่ได้นำมาฝากในข้างต้นแล้วหากมีอาการทุเลาลง เริ่มดีขึ้นจนใกล้หายแล้ว แต่อาการบาดเจ็บก็อาจจะทำให้ข้อเท้าไม่สามารถกลับไปแข็งแรงได้เหมือนเดิม ในระหว่างนั้นก็ควรใช้งานข้อเท้าให้น้อยลงงดการทิ้งน้ำหนักลงบนข้อเท้าจนเกินไป แต่ถ้าอาการปวด ยังไม่หายแอดแนะนำให้ไปพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมดีกว่าค่ะ
ขอบคุณข้อมูลดีดี