รู้จัก “โรคเบนด์” จากการ “ดำน้ำ”

รู้จัก "โรคเบนด์" จากการ "ดำน้ำ"

สารบัญ

      โรคเบนด์ (Bends) หรือ Decompression Sickness (DCS), Caisson Disease หรือที่ชาวเลและชาวประมงพื้นบ้านเรียกว่าโรค “น้ำหนีบ” เป็นอาการป่วยจากความกดดันที่ลดลงในขณะขึ้นสู่ผิวน้ำ โดยในการดำน้ำลึกซึ่งใช้ อากาศจากถังนั้นไนโตรเจน ที่ผสมอยู่ในอากาศที่เราหายใจจะแทรกซึมเข้าไปสะสมอยู่ในเส้นเลือด ยิ่งดำลึกมากก็ยิ่งสะสมปริมาณมากขึ้น

รู้จัก "โรคเบนด์" จากการ "ดำน้ำ" 02

       และเมื่อดำน้ำลึกๆ นานๆ หลายได้ฟ์ติดต่อกัน ปริมาณในโตรเจนก็จะยิ่งสะสมมากขึ้น ถ้าหากเราขึ้นสู่ผิวน้ำในอัตราเร็วเกินไป ซึ่งโดยเฉลี่ยเพื่อความปลอดภัยแล้วไม่ควรเกินอัตรา 60 ฟุต ต่อนาที อันเป็นอัตราขึ้นสู่ผิวน้ำที่ไม่เร็วกว่าการลอยตัวขึ้นของฟองอากาศ ซึ่งหากสังเกตก็จะเห็นได้ชัดว่าฟองอากาศที่เราหายใจออกมานั้น เมื่ออยู่ทะเลลึกๆ จะมีขนาดเล็ก แต่เมื่อลอยตัวสูงขึ้นๆ ก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นๆ เพราะความกดดันอากาศใกล้ผิวน้ำค่อยๆ ลดลง

      ไนโตรเจนที่สะสมอยู่ในเส้นเลือดและส่วนต่าง ๆ ในร่ายกายของเราก็เช่นกัน มันจะขยายตัวขึ้นขณะเรากลับขึ้นสู่ผิวน้ำ ถ้าค่อยๆ ขึ้นช้าๆ พักน้ำเป็นระยะ มันก็จะค่อยๆปรับตัว ซึมออกจากร่ายกาย แต่ถ้าเกิดเรากลับขึ้นสู่ผิวน้ำเร็วเกิน ไนโตรเจนที่สะสมอยู่ในเส้นเลือดเหล่านี้ ก็จะกลายเป็นฟองก๊าซในเส้นเลือดคล้ายระเบิดลูกเล็กๆ ที่พองขึ้นมาโดยเร็ว 

รู้จัก "โรคเบนด์" จากการ "ดำน้ำ" 03

      ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดในบริเวณนั้นๆ แล้วแต่ว่าฟองก๊าซไนโตรเจนไปสะสมอยู่บริเวณไหนของร่างกาย ถ้าอยู่ที่บริเวณผิวหนังก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดเหมือนเข็มเล็กๆ ทิ่มแทง ถ้าอยู่บริเวณข้อต่อต่างๆ ก็จะทำให้เกิดอาการปวดตามข้อ แต่ถ้าไปอยู่ตามไขสันหลังก็หนักหน่อย เพราะฟองก๊าซอาจไปกดหรือทำให้เส้นประสาทบริเวณนั้นเกิดการบาดเจ็บ ทำให้เป็นอัมพาตได้

     และยิ่งเลวร้ายหนักเข้าไปอีก ถ้าเข้าไปเกิดที่สมองหรือเส้นโลหิตบริเวณหัวใจ ซึ่งก็อาจจะถึงแก่ชีวิตได้  ไม่ได้ให้กลัวแล้วไม่กล้ามาดำน้ำกัน แต่หากเพราะการดำน้ำนั้นถ้าได้ร่ำได้เรียนมาตามหลักสูตรและดำน้ำอย่างถูกวิธี ทำตามกำหนดกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัด มีสติ ไม่ประมาทแล้ว รับรองปลอดภัยไร้กังวล

      ที่ยกมาเตือนกันก็เพราะสภาพของน้ำในท้องทะเลและกระแสน้ำที่แปรปรวน ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดโรคดังกล่าวได้ จึงเป็นเรื่องที่ต้องนำมาเตือนเพื่อนนักดำน้ำด้วยกันไว้ไม่ให้ประมาท หากเป็นไปได้ก็ควรจะทำประกันอุบัติเหตุในการดำน้ำไว้บ้าง โทรหาเกิดฉุกเฉินขึ้นค่าใช้จ่ายในการเยียวยารักษา ด้วยการเข้าห้องปรับความดันแต่ละครั้งนั้นค่อนข้างจะสูงเป็นเงินหลักแสน ดังนั้นแล้วหากเรามีทำประกันไว้ ก็จะหมดปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่วไปได้ นักดำน้ำจึงควรที่จะทำประกันดำน้ำ หาดูในเมืองไทยนั้นเขามีศูนย์บริการ ทำประกันดำน้ำอยู่ตามเมืองใหญ่ที่มีนักดำน้ำไปใช้บริการอย่างที่หาดป่าตองภูเก็ตหรือที่หาดพัทยา เป็นต้น

เครดิตเรื่องและรูปภาพ

https://www.healthandtrend.com/healthy/disease/
https://story.pptvhd36.com/@underTheSea/59e4251089153
Poster 24

Poster 24

ผู้คว่ำหวอดในวงการสุขภาพแนวหน้าในประเทศไทย

รวมเรื่องน่ารู้สำหรับพ่อแม่มือใหม่

เรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับผู้หญิง

ดูแลผิวพรรณ เส้นผม เครื่องสำอาง