สำหรับโรคยอดฮิตของนักว่ายน้ำเห็นทีน่าจะไม่พ้นการติดเชื้อที่หูชั้นนอก จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ในครั้งนี้เราจะมาบอกเล่ากันถึงหัวข้อ เรื่องน่ารู้ของการติดเชื้อที่หูชั้นนอก โรคยอดฮิตที่นักว่ายน้ำควรทราบ ! เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับท่านผู้อ่านที่ต้องการทราบถึงข้อมูลในเรื่องนี้ และเชื่อว่าจะต้องเป็นอีกหนึ่งประโยชน์ดีๆ เพื่อการรับมือกับการติดเชื้อของหูชั้นนอกในขณะว่ายน้ำ และเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปพบกับสาระน่ารู้ในเรื่องนี้กันเลยดีกว่า
หูชั้นนอกอักเสบคืออะไร
การติดเชื้อที่หูชั้นนอกคือการติดเชื้อของช่องเปิดหูชั้นนอกและช่องหูในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเชื่อมระหว่างหูชั้นนอกกับแก้วหู การติดเชื้อชนิดนี้มีชื่อทางการแพทย์ที่เรียกว่า otitis externa การติดเชื้อที่หูชั้นนอกนี้มักเกิดจากการสัมผัสกับความชื้น ซึ่งพบได้บ่อยในเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการว่ายน้ำ ในประเทศสหรัฐอเมริกาตรวจพบว่าผู้เข้ารับการตรวจสุขภาพมีภาวะเกี่ยวกับหูชั้นนอก ในกรณีดังกล่าวนี้เกือบ 2.4 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นในนักว่ายน้ำ
หูชั้นนอกอักเสบเกิดจากอะไร
การว่ายน้ำ (หรือผู้ที่ชอบแช่น้ำหรืออาบน้ำบ่อยเกินไป) อาจทำให้หูชั้นนอกติดเชื้อได้ เพราะน้ำที่ค้างอยู่ในช่องหูอาจกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแบคทีเรียได้ การติดเชื้ออาจเกิดขึ้นได้หากผิวหนังชั้นบาง ๆ ที่อยู่บริเวณช่องหูได้รับบาดเจ็บ การเกาอย่างรุนแรง การใช้หูฟัง หรือการวางสำลีเอาไว้ในช่องหูของคุณอาจทำให้ผิวหนังที่บอบบางนั้นเสียหายได้
เมื่อผิวหนังชั้นนี้ได้รับความเสียหายและอักเสบ มันสามารถเป็นแหล่งอาศัยของแบคทีเรียได้ สำหรับ Cerumen (หรือขี้หู) เป็นตัวป้องกันตามธรรมชาติให้กับหูเพื่อป้องกันจากการติดเชื้อ แต่การสัมผัสกับความชื้นและการเกาอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้หูของคุณไม่มี Cerumen (หรือขี้หู) สิ่งนี้จะทำให้คุณมีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น
อาการโรคหูน้ำหนวกเป็นอย่างไร
อาการของโรคหูน้ำหนวกภายนอก มีภาวะดังนี้ เริ่มต้นด้วยการมีอาการบวม สีแดง มีความร้อน จนรู้สึกปวดหรือไม่สบายในหู มีหนองเกิดขึ้น อาการคัน การระบายของเหลวมากเกินไป การได้ยินจะรู้สึกอู้อี้หรือได้ยินเสียงน้อยลง
อาการปวดอย่างรุนแรงที่ใบหน้า ศีรษะ หรือคอ ก็สามารถบ่งบอกว่าการติดเชื้อลุกลามไปมากแล้ว อาการที่มาพร้อมกับไข้ หรือต่อมน้ำเหลืองบวมอาจบ่งบอกถึงการติดเชื้อได้เช่นกัน หากคุณมีอาการปวดหูร่วมกับอาการเหล่านี้ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที ไม่ควรปล่อยไว้นะคะ
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการมีภาวะหูชั้นนอกอักเสบ
การว่ายน้ำเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดสำหรับโรคหูน้ำหนวกภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการว่ายน้ำในน้ำที่มีแบคทีเรียในระดับสูง ดังนั้นสระว่ายน้ำที่มีคลอรีนเพียงพอมีโอกาสน้อยที่จะแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียได้
การอาบน้ำหรือทำความสะอาดหูบ่อยเกินไปอาจทำให้หูติดเชื้อได้เช่นกัน ยิ่งช่องหูแคบลงเท่าใด โอกาสที่น้ำจะขังอยู่ภายในก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ช่องหูของเด็กมักจะแคบกว่าช่องหูของผู้ใหญ่ จึงเสี่ยงต่อการรับภาวะนี้ในขณะว่ายน้ำมากกว่าผู้ใหญ่ การใช้หูฟังหรือเครื่องช่วยฟังที่มีความอับชื้อ รวมถึง มีการระคายเคืองผิวหนังในช่องหูจากผลิตภัณฑ์ต่างๆก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุ นอกจากนี้ัสำหรับผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้กับเส้นผมยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่หูชั้นนอกได้อีกด้วย แต่ภาวะนี้ไม่ได้เกิดจากการติดต่อ
การเยียวยาที่บ้านสำหรับการติดเชื้อที่หูชั้นนอก
ส่วนที่สำคัญที่สุดของการรักษาที่บ้านสำหรับการติดเชื้อที่หูชั้นนอกคือการป้องกันไม่ให้น้ำเข้าในระหว่างการรักษา การทำให้หูแห้งให้ได้มากที่สุดจะช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้
เคล็ดลับอื่นๆ ที่ควรทราบได้แก่ ใช้สำลีก้อนหรือที่อุดหูแบบนิ่ม เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเข้าหูขณะอาบน้ำ
รวมถึงอย่าลืมใช้หมวกว่ายน้ำทุกครั้งที่คุณว่ายน้ำ หลีกเลี่ยงการเกาหูชั้นในแม้จะใช้ก้านสำลีก็ตาม
หลีกเลี่ยงการเอาขี้หูออกเอง และห้ามแคะหูด้วยของแข็งเด็ดขาด
อย่าลืมใช้ส่วนผสมของแอลกอฮอล์ล้างแผล หรือใช้น้ำส้มสายชูเช็ดหูหลังว่ายน้ำเพื่อช่วยให้น้ำส่วนเกินแห้ง (ส่วนผสมคือรับบิงแอลกอฮอล์ 50 เปอร์เซ็นต์ น้ำส้มสายชูกลั่น 25 เปอร์เซ็นต์ และน้ำกลั่น 25 เปอร์เซ็นต์) เช็ดศีรษะและหูให้แห้งหลังว่ายน้ำ
หูชั้นนอกอักเสบในเด็ก
สำหรับเด็ก ๆ ผู้ที่ใช้เวลาอยู่ในน้ำบ่อยๆ มีแนวโน้มที่จะติดเชื้อที่หูชั้นนอก ช่องหูของพวกเขามีขนาดเล็กกว่าช่องหูของผู้ใหญ่ ทำให้ของเหลวไหลออกจากหูของเด็กได้ยากขึ้น สิ่งนี้สามารถนำไปสู่การติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นได้
อาการปวดหูเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดของการติดเชื้อที่หูชั้นนอก เด็กเล็กที่พูดไม่ได้อาจมีอาการที่เราควรสังเกตุให้ดีดังต่อไปนี้ พวกเขาอาจใช้มือดึงหูบ่อยๆในขณะว่ายน้ำ หรือร้องไห้เมื่อมาใครไปส ัมผัสกับหูขแงพวกเขา มีไข้กับเด็กในบางกรณีได้ เด็กๆจะงอแงไม่สบายตัว ซึ่งจะงอแงมากกว่าปกติ หรือมีปัญหาในการนอนหลับ รวมถึงอาจมีของเหลวไหลออกจากหู นี่คือสิ่งที่ผู้ปกครองควรใส่ใจให้มากๆ
ภาวะแทรกซ้อนและอาการฉุกเฉิน
หากการติดเชื้อที่หูชั้นนอกไม่ได้รับการรักษาและไม่หายไปเอง อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลายอย่างเช่นฝี ซึ่งสามารถพัฒนาได้รอบ ๆ มันอาจขยายใหญ่ขึ้น ในบริเวณที่ได้รับผลกระทบภายในหู สิ่งเหล่านี้อาจหายได้เองหรือแพทย์ของคุณอาจต้องระบายออก การติดเชื้อที่หูชั้นนอกเป็นเวลานานอาจทำให้ช่องหูแคบลง การตีบตันอาจส่งผลต่อการได้ยิน และในกรณีที่รุนแรงอาจทำให้หูหนวกได้ จำเป็นต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
แก้วหูแตกหรือเป็นรูอาจเป็นภาวะแทรกซ้อนของการติดเชื้อที่หูชั้นนอก มักเกิดจากการถูกสิ่งของที่ใส่เข้าไปในหู สิ่งนี้สามารถเจ็บปวดอย่างมาก อาการที่อาจตามมาคือ การสูญเสียการได้ยินชั่วคราว หูอื้อหรือได้ยินเสียงแบบหึ่งๆ ของเหลวจะไหลออก รวมถึงมีเลือดออกจากหู
ในบางกรณีที่มีภาวะหูชั้นกลางอักเสบ ชนิดเนื้อร้ายจะเกิดขึ้นซึ่งนี่เป็นภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงอย่างยิ่งเมื่อเกิดการติดเชื้อและแพร่กระจายไปยังกระดูกอ่อน รวมถึงกระดูกที่อยู่บริเวณล้อมรอบช่องหูของเรา ผู้ใหญ่ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอมีความเสี่ยงมากที่สุดต่อการเกิดภาวะนี้ ซึ่งหากไม่รักษาก็อาจถึงแก่ชีวิตได้ นี่ถือเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์
โดยมีอาการที่พึงระวังคือ การปวดหูและปวดหัวอย่างรุนแรงโดยเฉพาะในตอนกลางคืน หูอื้ออย่างต่อเนื่อง อัมพาตเส้นประสาทใบหน้า ที่ด้านข้างของหูได้รับผลกระทบ มีการกระดูกเปิดในช่องหู สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นภาวะร้ายแรงที่คุณควรสังเกตุ ของพบต้องรีบปรึกษาแพทย์ทันทีไม่ควรปล่อยไว้
การรักษาหูชั้นนอกอักเสบ
การติดเชื้อที่หูชั้นนอกอาจหายได้เองโดยไม่ต้องรักษา การใช้ยาหยอดหูปฏิชีวนะเป็นวิธีการรักษาที่พบได้บ่อยที่สุด แต่สำหรับภาวะของการติดเชื้อที่หูชั้นนอกที่ไม่หายเองได จำเป็นจะต้องเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
โดยแพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวนะแบบหยดผสมกับสเตียรอยด์ เพื่อลดอาการบวมในช่องหูโดยปกติจะใช้ยาหยอดหูหลายครั้งต่อวันเป็นเวลา 7 ถึง 10 วัน หากเชื้อราเป็นสาเหตุของการติดเชื้อที่หูชั้นนอก แพทย์จะสั่งจ่ายยาหยอดหูที่มใีคุณสมบัติต้านเชื้อราให้คุณ การติดเชื้อชนิดนี้พบได้บ่อยในผู้ที่เป็นเบาหวานหรือมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เพื่อลดอาการสิ่งสำคัญคือต้องป้องกันน้ำไม่ให้เข้าหูในขณะที่กำลังมีการติดเชื้อ หรือกำลังรักษาอยู่
สำหรับยาแก้ปวดที่จำหน่ายหน้าเคาน์เตอร์ เช่น ไอบูโพรเฟนหรืออะเซตามิโนเฟน สามารถใช้เพื่อลดอาการปวดได้ ในกรณีที่รุนแรง แต่อาจต้องสั่งจ่ายยาแก้ปวดตามใบสั่งแพทย์ซึ่งเราไม่สามารถซื้อมีรับประทานเองได้
ทราบถึงสาระน่ารู้กับไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตามหากเรื่องราว เรื่องน่ารู้ของการติดเชื้อที่หูชั้นนอก โรคยอดฮิตที่นักว่ายน้ำควรทราบ ! นี้ มีประโยชน์ก็สามารถแชร์ต่อให้กับเพื่อนๆ และคนที่คุณรักได้ด้วยเช่นกันนะคะ แล้วกลับมาพบกับพวกเราได้ใหม่ในบทความครั้งต่อไปสวัสดีค่ะ