คุณพ่อคุณแม่ทุกท่านย่อมอยากเห็นลูกเติบโตมา มีร่างกายที่แข็งแรง เพียบพร้อมได้ด้วยสติปัญญารวมทั้งมีพัฒนาการที่ดี มีสัดส่วนร่างกายที่ครบสมบูรณ์ วันนี้จะมาบอกถึงสาเหตุประเด็นของ “เท้าผิดรูป” ในวัยทารก ที่ใครหลายๆ คนอาจละเลย จนลืมสังเกตความถูกสัดส่วนตรงนี้ไป อาจเพราะเด็กทารกยังเดินไม่ได้
มาดูวิธีดูแลและป้องกันไม่ให้ลูกน้อย “เท้าผิดรูป”
บางครั้งคุณแม่จึงอาจลืมให้ความสำคัญกับอวัยวะส่วนนี้ไป อย่างไรก็ตาม “เท้า” คือสิ่งสำคัญโดยเฉพาะในช่วงแรกเกิด – 5 ขวบ เป็นช่วงที่กระดูกและข้อต่อของเท้าลูกมีการเปลี่ยนแปลงง่าย เรามาดูวิธีดูแลและป้องกันไม่ให้ลูกน้อย “เท้าผิดรูป” กันเลยดีกว่า
การสังเกตเท้าของลูกตั้งแต่แรกเกิด ในส่วนมากเท้าทารกแรกเกิดจะมีรูปเท้าที่สมบูรณ์ แต่ในบางกรณีของบางคนที่ผิดปกติ คือ เท้าจะมีลักษณะบิดหมุนเข้าไปด้านใน รูปร่างของกระดูกบางตำแหน่งผิดปกติ เนื่องจากการเรียงตัวของกระดูกเท้า ไปจนถึงความผิดปกติของเอ็น กล้ามเนื้อ เนื้อเยื่ออ่อนของเท้า ซึ่งที่มักถูกเรียกกันว่า “เท้าปุก”
หากเกิดอาการเหล่านี้ที่เรียกว่า “เท้าปุก”
ควรรักษาโดยการให้แพทย์วินิจฉัย โดยแพทย์จะทำการใส่เฝือกหรือรองเท้าที่ตัดพิเศษ เพื่อไว้ใช้ในการปรับรูปเท้า ให้ค่อยๆ กลับมาเป็นปกติ หรือในบางกรณีอาจต้องใช้วิธีการผ่าตัด ไม่ควรปล่อยให้เท้าผิดรูปนานไปจนถึงวัยหัดเดิน เพราะจะทำให้การเดินของลูกผิดปกติ
สาเหตุที่ลูกน้อยมีเท้าผิดรูป
ในช่วงแรกเกิดถึงวัย 5 ขวบ เป็นช่วงที่ข้อต่อเท้า กระดูกเท้าของลูกมีลักษณะที่ค่อนข้างบอบบาง นุ่ม มีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงรูปทรง หรือเท้าผิดรูปได้ง่าย และการสวมใส่รองเท้าถุงเท้าที่ไม่พอดีกับเท้าก็เป็นสาเหตุให้เท้าผิดรูปได้
วิธีดูแลและป้องกันไม่ให้ลูกน้อยมี “เท้าผิดรูป”
การปล่อยให้ลูกเท้าของลูกไม่ต้องถูกรองเท้ารัดมากจนเกินไป ไม่จำเป็นต้องใส่รองเท้าให้ลูกในช่วงที่เขายังเดินไม่ได้ หรือหากใส่แต่ก็ไม่ควรใส่บ่อยๆ หากต้องการเพิ่มความอบอุ่นให้เท้าลูก ควรใส่ถุงเท้าหลวมๆให้ลูก ไม่ให้รัดนิ้วเท้าของลูกมากเกินไป หรืออาจสวมชุดเด็กที่คลุมไปจนถึงเท้า แต่ให้มีพื้นที่ให้เท้าได้ขยับเขยื้อนได้ และหมั่นตัดเล็บของลูกให้สั้นอยู่เสมอ โดยตัดเป็นแนวตรง เพื่อป้องกันให้เล็บไม่เกี่ยวถุงเท้า
การเช็คขนาดรองเท้าของลูกทุก 3 เดือน
เมื่อลูกกำลังอยู่ในวัยที่กำลังหัดเดิน ก็เป็นช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องเลือกรองเท้าให้ลูก ให้เลือกรองเท้าที่มขนาดพอเหมาะจะช่วยให้ลูกมีนิ้วเท้าที่เป็นปกติ ไม่มีนิ้วใดนิ้วหนึ่งงอหรือผิดรูปไป และคุณต้องดูให้แน่ใจว่ารองเท้าที่ลูกใส่นั้นพอดีกับเท้าของเขา โดยควรเลือกให้ความยาวให้เลยกว่าเท้าลูกประมาณ 1.5 ซม. จากจุดที่ยาวที่สุด แล้วตัดกระดาษออกมาสอดเข้าไปในรองเท้า เพื่อทดสอบดูว่าพอดีหรือไม่
วัดขนาดของรองเท้าทุก 3 เดือน
เท้าของเด็กจะมีขนาดที่เปลี่ยนแปลงได้เร็วมาก คุณแม่จึงควรวัดขนาดของรองเท้าทุก 3 เดือน แต่หากพบว่าลูกใส่รองเท้าแล้วมีรอยแดง รอยบีบรัดต่างๆ คุณแม่ควรรีบเปลี่ยนรองเท้าทันที ไม่ควรให้ลูกทนฝืนใส่เพราะเขาอาจจะเจ็บได้ ควรมีรองเท้าไว้ใส่สลับกันอย่างน้อยสองคู่ เพราะการใช้รองเท้าคู่เดิมเป็นการทำให้เท้าถูกบังคับให้อยู่ในรูปทรงเดิมตลอดเวลา ซึ่งไม่เป็นผลดี การเลือกถุงเท้าให้ลูกควรเลือกใช้ถุงเท้าที่ทำจากผ้าฝ้าย เพราะจะช่วยดูดซีบเหงื่อได้ดี นอกจากนี้ควรให้ลูกได้เดินเท้าเปล่าบนพื้นหญ้า หรือพื้นทรายบ้าง
ยังไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูง เพราะอาจทำให้กระดูกเท้ามีการพัฒนาผิดปกติ
สำหรับเด็กผู้หญิง รองเท้าส้นสูงกับเด็กวัยอนุบาล ยังไม่ควรใส่รองเท้าส้นสูง เพราะอาจทำให้กระดูกเท้ามีการพัฒนาผิดปกติ และอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการเดินได้ เวลาที่เด็กสวมรองเท้าส้นสูง ปลายเท้าจะเป็นส่วนรับน้ำหนัก แทนที่น้ำหนักจะถูกกระจายไปทั่วเท้า ประกอบกับส่วนหัวของรองเท้าส้นสูงที่มีรูปแหลมเรียว ทำให้นิ้วเท้าถูกบีบรัดจนทำให้นิ้วเท้าผิดรูปได้ ทั่งยังเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ เช่น การสะดุดล้ม หรือส้นรองเท้าอาจไปเกี่ยวสิ่งของได้ ทั้งนี้เพื่อสุขภาพที่ดี และความปลอดภัยของลูกน้อย ควรให้เขาได้ใส่รองเท้าส้นเตี้ยดีกว่าค่ะ จะได้ไม่เจ็บเท้าอีกด้วย
อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ต้องช่วยกันสังเกต อาการต่างๆของลูกทุกครั้งที่มีการสวมใส่รองเท้าถุงเท้า เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกเจ็บ และเพื่อไม่ให้ลูกมีเท้าที่ผิดรูปได้
หวังว่าคุณคงถูกใจบทความ ไม่อยากให้ลูกน้อยมี “เท้าผิดรูป” ต้องดูแลและป้องกันด้วยวิธีนี้ ! อันนี้
เครดิตภาพ : google.com , sanook.com , mohair.com