โรคมือเท้าปาก กับ โรคไข้หวัดใหญ่ โรคอันตรายในเด็ก ช่วงฤดูฝน !

ลูกน้อย

สารบัญ

   คุณพ่อคุณแม่ทุกคนย่อมดูแลลูกเป็นพิเศษอยู่แล้ว การที่เห็นลูกน้อยเติบโตมาโดยมีสุขภาพแข็งแรง ก็คือความสุขของคนเป็นพ่อเป็นแม่ แต่หลายๆ ฤดูกาลในบ้านเราก็น่าเป็นห่วง อย่างในหน้าร้อน หน้าหนาว และหน้าฝน ก็มีโรคอันตรายหลายสิ่งที่เกรงว่า อาจจะเกิดกับลูกน้อยได้ วันนี้จะมาพูดถึงประเด็น “โรคอันตรายในเด็ก” ที่คุณแม่ควรระมัดระวัง

  โรคภัยไข้เจ็บเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับลูกแน่นอน โรคติดต่อต่างๆที่เด็กสามารถติดกันได้ง่ายจากที่โรงเรียนก็มีอยู่มาก การป้องกันโรคของลูกน้อยโดยการฉีดวัคซีนก็สำคัญ คุณพ่อคุณแม่ควรเล็งเห็นความสำคัญเหล่านี้ ในช่วงหน้าฝน มีโรคอันตรายที่ควรระวัง คือดังนี้ 

“โรคไข้หวัดใหญ่”

เป็นโรคที่มักจะมีคนเป็นในช่วงฤดูฝน อาการป่วยมักจะเริ่มหลังจากรับเชื้อแล้ว 1 – 4 วัน โดยเฉลี่ยแล้วภายในวันที่สองถึงจะเริ่มสามารถสังเกตอาการได้  เด็กที่พี่เป็นโรคไข้หวัดใหญ่ คืออาการมีไข้ขึ้นสูง 39 – 40 องศาเซลเซียส ติดต่อกัน 3 – 4 วัน จะมีอาการหนาวสั่น และหัวใจเต้นเร็ว ต่างจากไข้หวัดธรรมดาที่มีไข้ขึ้นไม่สูงมากนัก 

โรคมือเท้าปาก กับ โรคไข้หวัดใหญ่ โรคอันตรายในเด็ก ช่วงฤดูฝน !  02

ดัมมี่ออนไลน์

สิ่งสำคัญที่ช่วยแยกระหว่างอาการ “ไข้หวัดธรรมดา กับ ไข้หวัดใหญ่” คือ เด็กที่ป่วยเป็นไข้หวัดธรรมดาจะมีไข้ไม่สูงมากนัก  แต่ไข้หวัดใหญ่นั้น จะมีอาการไข้ขึ้นสูงและปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลีย และเบื่ออาหารร่วมด้วย บางรายอาจต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล เนื่องจากมีอาการแทรกซ้อน อย่างเช่น ไซนัสอักเสบ ไข้ชักกล่องเสียงอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หลอดลมอักเสบ หรือปอดอักเสบจากแบคทีเรีย 

การดูแล “โรคไข้หวัดใหญ่”

ส่วนมากจะสามารถพักที่บ้านและรักษาตามอาการได้ เช่น ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเมื่อมีไข้พร้อมรับประทานยาลดไข้ ให้หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มแอสไพริน  หากมีน้ำมูกให้ใช้ยาลดน้ำมูก การดื่มน้ำให้พอเพียง จะสามารถช่วยได้ หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 3 วัน เช่น มีไข้สูงมากจนซึม  เพ้อ หายใจหอบ แน่นหน้าอก ควรรีบส่งแพทย์ทันที เพราะอาจมีภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้ 

วิธีป้องกัน “ไข้หวัดใหญ่”

วิธีป้องกัน “ไข้หวัดใหญ่”

ควรเริ่มจากการฝึกให้ล้างมือบ่อยๆ อย่างถูกวิธี แยกภาชนะส่วนตัว และของใช้ส่วนตัวไม่ให้ใช้ร่วมกับผู้อื่น เช่น แก้วน้ำ หลอด ช้อน ควรแยกเด็กที่มีอาการป่วยออกจากเด็กปกติ ควรสวมหน้ากากอนามัยให้เด็กอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีผู้คนแออัด ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก และควรพาบูกไปฉีดวัคซีนป้องกันให้หวัดใหญ่ในเด็กอายุ 6 เดือน – 19 ปี เพิ่มจากตารางฉีดวัคซีนตามปกติ 

“โรคมือเท้าปาก”

“โรคมือเท้าปาก”

เป็นอีกหนึ่งโรคที่มักสร้างความกังวลใจให้กับคุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างมาก เพราะเป็นโรคติดต่อที่เด็กๆสามารถติดกันได้ง่าย หากที่โรงเรียนมีเด็กหลานคนป่วยเป็นโรคนี้ ทางโรงเรียนจำเป็นต้องมีการประกาศให้หยุดเรียน เพื่อทำความสะอาดโรงเรียน สนามเด็กเล่น เป็นการป้องกันการติดเชื้อไวรัส ที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรค มือ เท้า ปาก 

อาการของ “โรคมือเท้าปาก”

อาการของ “โรคมือเท้าปาก”

เริ่มต้นคือมีอาการมีไข้  มีแผลในช่องปากอย่างเห็นได้ชัด อาจพบได้หลายตำแหน่งในปาก เช่นบริเวณ กระพุ้งแก้ม ลิ้น เพดานปาก รวมทั้งมีอาการผื่นตามมือและท้า ในบางกรณีที่มีแผลเยอะนั้นจะทำให้เจ็บปวดได้ จะทำให้รับประทานอาหารไม่ค่อยได้ หากมีอาการดังกล่าวควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อได้รับการรักษาอย่างใกล้ชิด 

การรักษา “โรคมือเท้าปาก”

สามารถรักษาตามอาการ อย่างเช่น หากมีไข้ก็สามารถกินยาลดไข้ได้ หากมีอาการคันก็สามารถกินยาลดอาการคันได้ โรคมือเท้าปากนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันเฉพาะ สิ่งสำคัญที่สุดคือการหยุดการแพร่กระจายของเชื้อ หากเมื่อไรที่ลูกน้อยของคุณมีแนวโน้มว่าจะเป็นโรคนี้ คุณควรให้ลูกหยุดเรียนทันที เพื่อเป็นการป้องกันการเกิด “โรคมือเท้าปาก” นี้ไม่ให้เกิดการติดต่อกันในโรงเรียน 

เน้นการรับประทานอาหารที่ปรุงสุก

เน้นการรับประทานอาหารที่ปรุงสุก

สะอาด และควรใช้ช้อนกลางทุกครั้ง เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ ฝึกให้ลูกหมั่นล้างมือให้สะอาด ด้วยวิธีที่ถูกต้อง “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” สโลแกนนี้ยังคงใช้ได้เสมอ ! 

  จะเป็นการดีหากคุณหมั่นดูแลลูกน้อยให้แข็งแรง โดยไม่ให้เจ็บป่วยใดๆเกิดขึ้น อย่าลืมฝึกลูกน้อยให้หมั่นล้างมือบ่อยๆ อย่างถูกวิธี 

   หวังว่าคุณคงจะถูกใจบทความ โรคมือเท้าปาก กับ โรคไข้หวัดใหญ่ โรคอันตรายในเด็ก ช่วงฤดูฝน !  อันนี้

เครดิตภาพ : google.com , thairath.com 

https://siamrath.co.th/n/107973

Poster 24

Poster 24

ผู้คว่ำหวอดในวงการสุขภาพแนวหน้าในประเทศไทย

รวมเรื่องน่ารู้สำหรับพ่อแม่มือใหม่

เรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับผู้หญิง

ดูแลผิวพรรณ เส้นผม เครื่องสำอาง