เมื่อ “ลูกก้าวร้าว” พ่อแม่ควรจัดการกับพฤติกรรมของลูกอย่างไร !?

ลูกน้อย

สารบัญ

   เป็นเรื่องหนักอกหนักใจของคุณพ่อคุณแม่หลายๆท่าน เวลาที่เห็นลูกมี “พฤติกรรมก้าวร้าว” อาจพูดจาไม่เพราะ อารมณ์ฉุนเฉียว เกรี้ยวกราดผิดปกติ ซึ่งบางครั้งก็ทำให้คุณพ่อคุณแม่ตกใจอยู่ไม่น้อย จนอดกลุ้มใจไม่ได้ว่าจะแก้ปัญหา วันนี้จะมาพูดถึงวิธีรับมือกับพฤติกรรมก้าวร้าวของลูก ว่าคุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร รวมทั้งสาเหตุและวิธีป้องกันพฤติกรรมไม่ดรเหล่านี้ 

ก่อนอื่นคุณพ่อคุณแม่ควรทราบถึงสาเหตุที่มา

ของความก้าวร้าวของลูกก่อน ว่ามาจากที่ใด ส่วนใหญ่เด็กเล็กที่ยังมีพัฒนาการด้านสติปัญญาการเจริญเติบโตของสมอง ที่ยังไม่สมบูรณ์ในขณะที่สมองส่วนอารมณ์พัฒนาไปเร็วกว่า จึงส่งผลให้เด็กมีการ ยังยับยั้งช่างใจได้น้อย

ในส่วนของครอบครัวก็มีผลต่อเด็กมาก

ยกตัวอย่างเช่น บางครอบครัวอาจมีการแก้ปัญหาโดยการใช้อารมณ์ ในการพูดการกระทำ การแสดงออก ซึ่งอาจทำให้เด็กเรียนรู้ไปตามอัตโนมัติว่า เมื่อไหร่ที่เกิดสถานการณ์ตึงเครียด เด็กก็อาจจะแสดงอารมณ์ที่ไม่เหมาะสมออกมาเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา 

การเลียนแบบพฤติกรรมของเพื่อน

ไฮโลออนไลน์

การเลียนแบบพฤติกรรมของเพื่อน

หรือสื่อต่างๆ ที่มีความรุนแรง ไม่เหมาะสมนั้น เมื่อลูกได้พบเห็นก็อาจซึมซับทำให้เขามีพฤติกรรมลอกเลียนแบบได้ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นใส่ใจลูก สอบถามลูกถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่โรงเรียนว่าพบเจออะไรบ้าง พยายามทำให้ลูกไว้วางใจในการเล่าเรื่องราวต่างๆให้ฟัง 

การมีโรคประจำตัวเรื้อรังนั้นก็เป็นสาเหตุหนึ่ง

การมีโรคประจำตัวเรื้อรังนั้นก็เป็นสาเหตุหนึ่ง

ที่ทำให้ลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าวได้ อย่างเช่นเด็กที่เคยได้รับอุบัติเหตุทางสมอง เคยมีเลือดออกในสมอง หรือต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ เด็กที่เป็นโรคลมชัก สมองอักเสบ ส่งผลให้สมองของลูกทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์ จนเกิดลักษณะอารมณ์แปรปรวนมีการรับรู้ทางระบบประสาทผิดปกติ 

พ่อแม่ควรรับมือกับ “พฤติกรรมก้าวร้าว” นี้อย่างไร

สิ่งแรกเลยที่คุณพ่อคุณแม่ต้องทำ คือการควบคุมจัดการกับอารมณ์ของตัวเองให้ได้เสียก่อน ใจเย็นๆ และรับฟังลูกว่าต้องการสื่อสารอะไรกับพ่อแม่ ให้ลูกได้บอกความต้องการของเขา ให้เขาได้ระบายสิ่งอัดอั้นในใจ เพื่อทำให้เขารู้สึกสบายใจมากขึ้น โดยที่พ่อแม่ต้องตั้งใจฟัง รับฟังอย่างสงบนิ่งเพื่อวิเคราะห์ หาวิธีแก้ปัญหาให้ลูกสำหรับเรื่องที่ลูกอึดอัดและได้ระบายออกมาให้ฟัง 

ให้ลูกได้สงบสติอารมณ์ในบรรยากาศที่สงบ

ให้ลูกได้สงบสติอารมณ์ในบรรยากาศที่สงบ

แต่ถ้าพฤติกรรมค่อนข้างรุนแรงมาก พ่อแม่ควรหยุดพฤติกรรมเหล่านั้นของลูก โดยการอบกอดลูกทางด้านหลัง ลูบหลังให้เขารู้สึกอุ่นใจ เพื่อไม่ให้ลูกต้องทำร้ายตัวเองและผู้อื่น ใช้ความอ่อนโยนในการแก้ปัญหา ทำให้ลูกไว้ใจพ่อแม่ การโอบกอดลูกนั้นจะทำให้ลูกรู้สึกปลอดภัยและใจเย็นลงได้

การสร้างบรรยากาศเพื่อให้มีการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

การสร้างบรรยากาศเพื่อให้มีการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

สมาชิกในครอบครัวควรสร้างบรรยากาศที่ดี ในการทำกิจกรรมร่วมกัน การสร้างบรรยากาศเพื่อให้มีการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ให้ลูกได้มีโอกาสเล่าความรู้สึก บอกเล่าเรื่องราวที่พบเจอในแต่ละวัน ให้เขาได้เล่าถึงปัญหาที่ต้องการแก้ไข ให้เขาได้ระบายความอัดอั้น เหมือนมีที่ปรึกษาในบ้าน และช่วยเสนอแนวทางแก้ไขให้กับลูก 

ควรมีการตัดสินอย่างยุติธรรมในกรณีที่เกิดเหตุการณ์เด็กทะเลาะเบาะแว้งกันในบ้าน

ควรมีการตัดสินอย่างยุติธรรมในกรณีที่เกิดเหตุการณ์เด็กทะเลาะเบาะแว้งกันในบ้าน

ผู้ใหญ่ในครอบครัวควรปฏิบัติต่อเด็กเหมือนกันทุกคน ไม่ควรลำเอียง หรือเข้าข้างเด็กคนใดคนหนึ่ง หากใครผิดควรว่าไปตามผิด และควรมีการตัดสินอย่างยุติธรรมในกรณีที่เกิดเหตุการณ์เด็กทะเลาะเบาะแว้งกันในบ้าน ผู้ใหญ่ควรแยกเด็ก และให้เวลากับเด็กได้สงบสติอารมณ์ก่อน โดยที่ผู้ใหญ่ก็ควรมีพฤติกรรมใจเย็นและสงบนิ่ง 

ควรมีการทำกติกาตกลงกันภายในครอบครัว

ควรมีการทำกติกาตกลงกันภายในครอบครัว

ว่าเมื่อมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น ให้ลูกสามารถพูดคุยและเปิดเผยกันได้โดยจะไม่มีการตำหนิใดๆ เกิดขึ้น และงดใช้อารมณ์ในการพูดคุยในทุกๆ กรณี การสอนลูกต้องชี้แจงด้วยเหตุผล เพื่อให้เขาได้ทำความเข้าใจถึงเหตุและผล สิ่งสำคัญที่สุดคือการสร้างบรรยากาศในครอบครัวให้อบอุ่นโดยการพูดจากันดีๆ ไม่ใช้อารมณ์

   หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อคุณผู้อ่านทุกท่านและหวังว่าคุณคงถูกใจบทความ เมื่อ “ลูกก้าวร้าว” พ่อแม่ควรจัดการกับพฤติกรรมของลูกอย่างไร !?  อันนี้

เครดิตภาพ : mothershood.co.th 

https://www.phyathai.com/article_detail/2127/th/

Poster 24

Poster 24

ผู้คว่ำหวอดในวงการสุขภาพแนวหน้าในประเทศไทย

รวมเรื่องน่ารู้สำหรับพ่อแม่มือใหม่

เรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับผู้หญิง

ดูแลผิวพรรณ เส้นผม เครื่องสำอาง