คุณพ่อคุณแม่หลายท่าน คงมีความกังวลใจอยู่ไม่น้อย เมื่อลูกน้อยของคุณไม่ยอมทานข้าว ทั้งยังชอบ “อมอาหาร” เป็นเวลานานๆก่อนจะตัดสินใจกลืน ซึ่งปัญหานี้มักพบมากในเด็กช่วงอายุ 1-3 ขวบ นับเป็นปัญหาหนักอกหนักใจคุณแม่เสมอเลยทีเดียว ความดราม่านี้มักจะเกิดขึ้น ในแทบทุกมื้ออาหาร วันนี้เราจะมาบอกเคล็ดลับถึงวิธี ทำอย่างไรให้จึงจะทำให้ลูกน้อยเลิกอมอาหารได้เสียที !
สาเหตุหลักๆ ของการไม่ยอมกลืนข้าว
ของลูกนั้นคงหนีไม่พ้นการห่วงเล่นมากเกินไป หรือลูกอาจมีการทานขนม ของขบเคี้ยวมาก่อนหน้านี้ ก่อนจะถึงมื้ออาหารจริง ลูกอาจอิ่มนม หรืออิ่มน้ำหวานมาแล้ว ซึ่งอาจทำให้ไม่หิว และดึงดูดความสนใจไปทำอย่างอื่น เช่น ดูโทรทัศน์ เล่นโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น หากที่ผ่านมาลูกได้ถูกบังคับให้รับประทานอาหารเป็นประจำ นั่นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกเกิดทัศนคติที่ไม่ดี ในการรับประทานอาหาร ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรมี วิธีการแก้ไขเพื่อไม่ให้ลูกน้อยของคุณไม่อมอาหารไว้ในปาก อีกต่ไปในขณะที่กำลังรับประทานอาหาร
การฝึกให้ลูกรับประทานอาหารให้เป็นเวลา
คือสิ่งสำคัญในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของลูกได้ คุณแม่ต้องฝึกให้ลูกรับประทานอาหารให้ตรงเวลา ไม่ว่าจะเป็นมื้อ เช้า กลางวัน หรือเย็น โดยเมื่อทุกมื้ออาหารนั้น คุณแม่ควรนั่งรับประทานอาหารบนโต๊ะอาหารไปพร้อมๆ กับลูก
การจัดเวลาการรับประทานอาหาร เป็นสิ่งสำคัญ โดยจัดระยะเวลาให้ห่างกันในแต่ละมื้ออย่างน้อยควรห่างประมาณ 3 ชั่งโมง และไม่ควรปล่อยให้ลูกนั่งรับประทานเกินมื้อละ 1 ชั่วโมง
การกะปริมาณของอาหารให้พอเหมาะให้กับลูก
ทั้งนี้เพื่อให้ลูกได้สามารถเคี้ยวข้าวได้ง่ายมากขึ้น เรื่องของปริมาณอาหารนั้น เป็นสิ่งสำคัญมากที่คุณแม่ ต้องคำนึงถึง เพราะหากอาหารชิ้นใหญ่เกินไป ก็จะทำให้ลูกทานไม่หมด คุณแม่ควรให้ลูกได้เริ่มทานในปริมาณน้อยๆ ก่อน หากเริ่มลูกทานหมดจึงค่อยๆ เพิ่มปริมาณเข้าไปอีก แต่ก็ควรเพิ่มทีละน้อย และเมื่อลูกทานหมดแล้ว ควรกล่าวชื่มชมเขา ให้กำลังใจลูก ซึ่งจะทำให้ลูกลดความอคิติเรื่องการทานอาหารได้
ควรหมั่นสังเกตเวลาที่ลูกเคี้ยวอาหาร
ว่าอาหารที่คุณแม่ได้เตรียมให้ลูกทานนั้น มีความแข็งเกินไปหรือไม่ และลูกสามารถเคี้ยวอาหารนั้นได้หรือเปล่า นอกจากนี้ยังควรหมั่นสังเกตุว่าลูกชอบทานอาหารรสชาติแบบใดบ้าง เพื่อการจัดเตรียมอาหารในครั้งต่อไป อาจจะทำให้ลูกถูกปากมากยิ่งขึ้น
การทำให้ลูกสนุกไปกับการรับประทานอาหาร
เป็นสิ่งที่คุณแม่ควรทำ เริ่มจากการจงปล่อยให้ลูกรับประทานอาหารด้วยตัวเอง ด้วยช่วงอายุวัยที่มักชอบหยิบอะไรด้วยตัวเอง การที่ลูกมักทำอาหารหกเลอะเทอะนั้นคือเรื่องธรรมชาติของเด็ก ให้ลูกได้ลองใช้ช้อน ส้อม ในการตักอาหารเอง ก็ถือเป็นการช่วยเพิ่มพัฒนาการให้เด็กไปด้วยเช่นกัน
การตัดสิ่งเร้าใจจากภายนอกออกไป
คือการลดความสนใจอย่างอื่นของลูกไปได้ อย่าปล่อยให้อะไรมารบกวนลูกในขณะที่กำลังรับประทานอยู่ คุณแม่ไม่ควรเปิดโทรทัศน์ หรือไม่ควรเล่นโทรศัพท์มือถือ ในขณะที่กำลังนั่งรับประทานอาหารร่วมกับลูก และไม่ควรวางของเล่นไว้รอบๆตัวลูก เพราะจะทำให้ลูกไม่สนใจการรับประทานอาหาร ดังนั้นคุณแม่ควรจัดระเบียบสิ่งต่างๆ เหล่านี้ให้ได้
ไม่ควรให้ลูกทานอาหารจนอิ่มเกินไป
หากเห็นว่าลูกอิ่มแล้ว ให้เลิกป้อนอาหารทันที ไม่ควรบังคับให้ลูกรับประทานต่อ เพราะการถูกบังคับนั้น จะทำให้ลูก “อมอาหาร” ไว้นั่นเอง
อย่าให้ลูกรับประทานอาหารหลังจากเล่นเสร็จใหม่ๆ แต่ควรให้เขาได้นั่งพักให้หายเหนื่อยเสียก่อน เพื่อเป็นการปรับร่างกายของลูก รวมไปถึงอุณหภูมิภายในร่างกายให้สมดุล เพราะอาจทำให้ลูกจุกได้ คุณแม่ควรให้ลูกหยุดเล่นก่อนจะให้ทานอาหาร อย่างน้อย ประมาณ 10-15 นาที เพื่อสุขภาพที่ดีของลูก
เครดิตภาพ : google.com , babyfirst.com
credit. ไฮโลออนไลน์