ในยุคปัจจุบัน มีโรคอันตรายเยอะแยะมากมายที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่อดห่วงลูกน้อยของคุณไม่ได้ อาจกลัวลูกเจ็บไข้ได้ป่วยบ้าง เพราะกังวลใจกับโรคติดต่อจากโรงเรียนบ้าง วันนี้จะมาพูดเกี่ยวกับประเด็นของ “โรคไข้เลือดออก” ถึงวิธีการป้องกันไม่ให้ลูกน้อยของคุณเป็นโรคนี้ และบอกถึงวิธีรับมือว่าควรทำอย่างไรหากเกิดโชคร้ายเป็น “โรคไข้เลือดออก”
สาเหตุของการเป็น “ไข้เลือดออก”
อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าโรคนี้มี “ยุงลาย” เป็นพาหะนำโรค การถูกยุงลายกัดเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เราสามารถเป็นไข้เลือดออกได้ โดยยุงลายเพศเมียที่ดูดเลือดของผู้ป่วยที่มี “เชื้อไวรัสเดงกี่” โดยเชื้อไวรัสนี้จะเข้าไปเติบโตในท้องยุงลาย และเมื่อหากยุงลายตัวที่มีเชื้อไวรัสนี้อยู่แล้วไปกัดคนต่อ ก็จะทำให้เชื้อวัยรัสชนิดนี้แพร่กระจายไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนผู้นั่นเป็น “ไข้เลือดออก”
อาการของคนเป็น “ไข้เลือดออก”
ส่วนใหญ่อาการของคนเป็นไข้เลือดออก มักจะแสดงหลังจากได้รับเชื้อแล้ว ประมาณ 5 – 8 วัน จะมีไข้ขึ้นสูงประมาณ 2-7 วัน อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำลงอย่างผิดปกติ ปวดศีรษะ หน้าแดง อ่อนเพลีย ซึม รับประทานอาหารไม่ได้เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ติดต่อกัน ทั้งยังมีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง หายใจลำบาก หายใจถี่ รู้สึกหงุดหงิด สับสน กระสับกระส่าย ในบางรายจะมีจุดเลือดสีแดงขึ้นตามร่างกาย ลำตัว บริเวณแขน ขา
นอกจากนี้ยังมีเลือดออกตามไรฟัน และมีเลือดกำเดาไหล การถ่ายอุจจาระจะมีสีดำเนื่องจากเลือดออก ซึ่งอาการเหล่านี้อาจทำให้เกิดการช็อกได้ สัญญาณเริ่มต้นที่ควรระวังสำหรับอาการช็อก ก็คือ ตัวจะเย็น หน้าซีดตัวซีด รู้สึกกระสับกระส่าย ต้องคอยระวังไม่ให้สิ่งผิดปกติเหล่านี้เกิดขึ้น
ระยะไข้สูงของ “ไข้เลือดออก” สังเกตได้
ในเริ่มต้นระยะไข้สูง จะมีไข้ขึ้นสูงถึงแม้จะกินยาลดไข้ เช็ดตัว นอนพักผ่อน หรือทำอย่างไรไข้ก็ไม่ลด ด้านเนื้อตัว ใบหน้า จะแดงกว่าปกติ ซึ่งบางคนอาจมีอาการเยื่อบุตาอักเสบร่วมด้วย อาจมีผื่นขึ้น รวมทั้งมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง จะพบว่ามีจุดเลือดออกตามผิวหนัง มีเลือดกำเดาไหล มีเลือดออกตามไรฟัน มีจุดแดง
ระยะวิกฤตของ “ไข้เลือดออก”
ต่อเนื่องมาจากระยะไข้สูงในระยะหนึ่ง ไข้จะลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งในระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 24 – 48 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของเชื้อ ในกรณีที่รุนแรงมากก็คือ ผู้ป่วยอาจเกิดอาการช็อก หากเป็นเช่นนั้นให้รีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที
ระยะพักฟื้นของ “ไข้เลือดออก”
ในระยะนี้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นแล้ว จะเจริญอาหารมากขึ้น ในบางรายจะพบผื่นตามร่างกาย ฝ่ามือ ฝ่าเท้า เรียกว่าผื่นในระยะพักฟื้น ปัสสาวะได้มากขึ้น ถือว่ากำลังกลับสู่ภาวะปกติ โดยหมอจะหยุดการให้สารน้ำต่างๆ เพื่อป้องกันการแทรกซ้อนจากภาวะน้ำเกิน
ควรป้องกัน “ไข้เลือดออก” อย่างไร
เริ่มจากการกำจัดยุงลายที่เป็นต้นเหตุเรื่องนี้ เพราะยุงลายคือพาหะนำโรค เราควรใช้ทรายกำจัดลูกน้ำโดยนำไปถมบริเวณที่มีน้ำขังในกรณีที่บ้านปลูกพืชน้ำ เช่น บัว หากบ้านคุณมีอ่างบัว ควรเลี้ยงปลาหางนกยูงใส่ไปด้วย เพื่อให้ปลาได้กินลูกน้ำ เป็นวิธีกำจัดยุงได้อีกหนึ่งอย่าง เปลี่ยนน้ำในแจกันบ่อยๆ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง พยายามปิดฝาโอ่ง ฝาถังน้ำ ฝาภาชนะต่างๆ เพื่อป้องกันการวางไข่ของยุงลาย ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในบ้านให้เป็นระเบียบอย่าปล่อยให้มีน้ำขัง ฉีดพ่นยาไล่ยุง
วิธีป้องกันการติดเชื้อ
เริ่มได้จากการแต่งกายให้มิดชิด สวมเสื้อผ้าที่มีแขนขายาวออกจากบ้าน ฉีดสเปรย์กันยุงที่สกัดจากพืชธรรมชาติ เช่น ตะไคร้หอม เปลือกส้ม สะระแหน่ รวมทั้นการติดมุ้งลวดที่ประตู หน้าต่างให้เรียบร้อย ตรวจเช็คความเรียบร้อย ดูรอยรั่วของมุ้งลวดว่ามียุงเข้ามาได้หรือไม่ หากมีก็ซ่อมให้เรียบร้อย
การรับการฉีดวัคซีน
โดยวัคซีนมีฤทธิ์ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสเดงกี่ได้ทั้ง 4 สายพันธุ์ กำหนดให้ฉีดทั้งหมด 3 ครั้ง ในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 9-45 ปี แต่ละครั้งที่ฉีดให้ห่างกัน 6 เดือน ทั้งนี้ หลังการฉีดวัคซีนอาจมีอาการข้างเคียง อย่างเช่นการมีไข้ต่ำๆ มีอาการห้อเลือด ปวดกล้ามเนื้อ
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับข้อมูลที่นำมาฝากกัน หวังคุณผู้อ่านจะได้ประโยชน์และถูกใจบทความ วิธีระวังลูกน้อยให้ห่างไกลจากภัยเงียบ “โรคไข้เลือดออก” ! อันนี้
เครดิตภาพ : google.com , babyfirst.co.th
credit. ดัมมี่ออนไลน์