หลายคนคงเคยได้ยิน ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือจะให้คุ้นหูไปกว่านั้น ก็คือ หัวใจวายนั่นเอง หัวใจล้มเหลว เป็นอาการที่เกิดจากความผิดปกติ ในการทำงานของหัวใจ ที่ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยง อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เพียงพอ เป็นผลให้ กล้ามเนื้ออ่อนแรง และไม่สามารถส่ง เลือดกลับไปที่หัวใจ ได้ทัน จึงเกิดเป็นภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดขึ้น

โดยภาวะหัวใจล้มเหลวนี้ สามารถแบ่งออกเป็นหลายชนิด แต่ถ้าหากจะแบ่งตาม อาการ โดยใช้ระยะเวลาจะแบ่งได้ออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้
- ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน สภาวะนี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างที่เราเห็นตามสื่อ ภาพยนตร์ ดูละคร กันบ่อยๆ ที่ตัวเอกของเรื่อง จะจำไว้หน้าอก แล้วทรุดตัวลงกองกับพื้น เป็นต้น
- ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง จะพบในผู้ป่วยที่ได้รับการวิจัยว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันมาก่อนหรือไม่ก็ได้ และมีการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติ มาเป็นเวลานาน
หรือยังสามารถแบ่งชนิดของภาวะหัวใจล้มเหลว ได้อีก 2 ประเภท คือ
- หัวใจห้องซ้ายล้มเหลว ในชนิดนี้ หัวใจจะไม่สามารถทำการ สูบฉีดเลือด เพื่อไปเลี้ยง อวัยวะต่างๆทั่วร่างกายได้ จึงทำให้เกิดเลือดคั่งที่บริเวณปอด การกลายเป็นน้ำท่วมปอด และส่งผลให้ เท้ามีอาการบวม
- หัวใจห้องขวาล้มเหลว ในลักษณะนี้ หัวใจจะไม่สามารถทำการสูบฉีดเลือด ไปที่ปอด เพื่อทำการฟอกเลือด จึงทำให้ ผู้ป่วย เกิดอาการ เท้าบวมเช่นกัน
อาการของผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
- ร่างกายอ่อนเพลีย สาเหตุมาจาก ร่างกาย มีการได้รับเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้น้อยลง แล้วยังส่งผลให้ ความสามารถในการทำ กิจกรรมระหว่างวัน ได้น้อยลง อีกด้วย
- หายใจติดขัดหรือเหนื่อยง่าย อาการนี้เป็นอาการสำคัญของผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ต้องสังเกตอาการว่าเรามีอาการเหนื่อยง่ายขึ้นหรือไม่ หรือขณะนอนราบ มีอาการหายใจติดขัดหรือหายใจไม่สะดวก มีอาการตื่นกลางดึก เนื่องจากหายใจติดขัด และนี่ยังเป็นอาการจำเพาะ ของผู้มีภาวะหัวใจล้มเหลวอีกด้วย
- มีอาการบวมตามส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น อาการบวมที่เท้า และขา อย่างผิดปกติ เนื่องจาก มีน้ำไปข้างในอวัยวะ ต่างๆของร่างกาย เช่น ในตับ ม้ามโต รวมถึงมีน้ำในช่องท้อง ทำให้ท้องบวม แน่นอึดอัด
ความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการภาวะหัวใจล้มเหลว
- จะพบมาก ในผู้ที่มี ภาวะอ้วน สูบบุหรี่ ไม่มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ หรือมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน เป็นต้น
แนวทางการรักษาของผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
- ใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจ หรือเครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ เป็นชนิดที่ฝังในร่างกาย เพื่อเป็นการลดภาระการบีบตัวของหัวใจ
- ผ่าตัด มีอยู่หลายกรณีด้วยกัน เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ ต้องทำการผ่าตัด เพื่อต่อหลอดเลือดหัวใจ หรือ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ในกรณีที่ไม่สามารถกลับมาทำงานได้ปกติ หรือ การผ่าตัดใส่เครื่องช่วย ในการสูบฉีดเลือดของหัวใจ
- ใช้ยา มีอยู่หลายลักษณะเช่นกัน ต้องให้ตามอาการของผู้ เป็นโรคภาวะหัวใจล้มเหลว แต่ละคน เช่น ยาเพิ่มการบีบตัวของหัวใจ ยาลดความดันโลหิต ยาขยายหลอดเลือด ยาต้านภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เพื่อช่วยให้หัวใจสามารถทำงานได้เป็นปกติ
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลว สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกที่ทุกเวลา เพราะฉะนั้น ทุกคนที่มีพฤติกรรมความเสี่ยง ดังที่กล่าวข้างต้น ให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตัวเอง เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ งดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงอาหารประเภทไขมัน และโซเดียม เท่านี้ก็จะลดความเสี่ยงของการเกิด ภาวะหัวใจล้มเหลวได้ระดับหนึ่ง
ต้องทำอย่างไรเมื่อเกิดอาการหัวใจล้มเหลว
- อาการแน่นหน้าอก หายใจติดขัด หรือหายใจลำบาก ให้ผู้ป่วยนั่ง หรือนอน ยกหัวให้สูง และให้ผู้ป่วย ผมยาสำหรับ ผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ไว้ใต้ลิ้น
- อาการหมดสติ ให้ผู้ป่วยนอนหงาย หรืออยู่ในท่านอนตะแคง เพื่อป้องกันผู้ป่วยสำลัก ห้ามป้อนยา อาหาร หรือนำอะไรใส่ปากผู้ป่วย ให้ออกซิเจน และนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
การดูแล เฝ้าระวังสำหรับผู้ป่วย ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว
- ต้องเรียนรู้และเฝ้าสังเกตอาการ ของภาวะหัวใจล้มเหลว ว่าอาจทำให้เกิดอาการใดบ้าง เช่น หากมีอาการเหนื่อยกว่าปกติ มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น มีอาการบวมตามอวัยวะต่างๆ มักตื่นกลางดึกบ่อยๆ ต้องเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์โดยตรง ซึ่งอาจเป็นอาการหนึ่งของภาวะหัวใจล้มเหลว ก็เป็นได้
- ต้องมีการชั่งน้ำหนัก และจดบันทึกทุกวัน ในตอนเช้า หลังจากขับถ่ายเรียบร้อยแล้ว เป็นช่วงก่อนที่จะรับประทานอาหารเช้า เนื่องจาก อ่านน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 1 กิโลกรัม ใน 1 วัน อาจเป็นอาการของภาวะคั่งน้ำ ในร่างกาย
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม หรือมีส่วนประกอบของโซเดียม และงดการเติม น้ำปลา ซีอิ๊ว เกลือ ลงไปในอาหาร และควรมีการจำกัด การดื่มน้ำ ให้ตรงตามแผนการรักษาด้วย
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ขอสิ่งต่างๆเหล่านี้ ทำให้ภาวะของกล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมได้
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและเหมาะสม โดยเริ่มจาก การออกกำลัง ง่ายๆเช่นการเดินราบ น้อยค่อยๆ เริ่มจากการใช้เวลา น้อยๆ จนไปสู่เวลาที่มากขึ้น หากเริ่มรู้สึกเหนื่อยเกินไป ให้ลดการออกกำลังกาย
- หากิจกรรมมาเบาๆ ทำ เพื่อลดความตึงเครียด เช่น การอ่านหนังสือ การนั่งทำสมาธิ เป็นต้น
- งดเว้นจากการมีเพศสัมพันธ์ หากพบอาการเหนื่อยหอบ
ภาวะหัวใจล้มเหลว นั้น เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ไม่ได้มีในเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น เพราะฉะนั้นแล้วมันสังเกตอาการของตัวเอง ว่าเข้าข่ายหรือไม่ งดเว้นพฤติกรรมที่จะนำไปสู่ความเสี่ยงให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ขอให้ทุกท่าน สนุกกับการใช้ชีวิตนะครับ
เกมส์ออนไลน์แนะนำ >>> ป๊อกเด้งออนไลน์